วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

การจัดการองค์การ



ทฤษฎีองค์การและการจัดการ


ทุกองค์การไม่ว่าจะมีขนาด ประเภท หรือสถานที่ตั้งอย่างไร จำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี ซึ่งการจัดการที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของการดําเนินงานขององค์การ การเติบโตและการดํารงอยู่ต่อไปของ องค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การในยุคศตวรรษที่21 ซึ่งต้องเผชิญกับ ปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ โลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยี ทําให้องค์การต้องมีแนวทางในการจัดการที่ทันสมัยเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ เพื่อให้เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสมัยใหม่ ในบทนี้จะได้นำเสนอหัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง องค์การสมัยใหม่ ความหมายของการจัดการ ขบวนการจัดการ บทบาทของการจัดการ คุณสมบัติของนักบริหารที่ประสบความสำเร็จ


องค์การสมัยใหม่ (Modern organization)


การจัดการเกิดขึ้นในองค์การ และในมุมมองด้านการจัดการ องค์การหมายถึง การที่มีคนมาทํางานร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งองค์การมีลักษณะร่วมกันอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1) ทุกองค์การต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของตนเอง
2) ทุกองค์การต้องมีคนร่วมกันทํางาน
3) องค์การต้องมีการจัดโครงสร้างงานแบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบของคนในองค์การ


ตามที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าองค์การปัจจุบันต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นองค์การต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ แนวคิดเกี่ยวกับองค์การในแบบเดิมกับองค์การสมัยใหม่ก็มีความแตกต่างกัน เช่น การจัดการแบบคงเดิมกับแบบพลวัตร รูปแบบไม่ยืดหยุ่นกับแบบยืดหยุ่น การเน้นที่ตัวงานกับเน้นทักษะ การมีสถานที่ทำงานและเวลาทำงานที่เฉพาะคงที่กับการทํางานได้ทุกที่ทุกเวลา

องค์การแบบเดิมจะมีลักษณะการจัดการที่คงเดิมไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ้างก็เป็นในช่วงสั้นๆ แต้องค์การปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จะมีความคงที่บ้างเป็นช่วงสั้นๆ จึงมีการจัดการแบบพลวัตรสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา องค์การแบบเดิมมักมีการจัดการแบบไม่ยืดหยุ่น ส่วนในองค์การสมัยใหม่จะมีการจัดการที่ยืดหยุ่น กล่าวคือในองค์การสมัยใหม่จะไม่ยึดติดกับแนวทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ต้องให้มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ สามารถปรับเปลี่ยนได้ถ้าสถานการณ์แตกต่างไป

องค์การแบบเดิมลักษณะของงานจะคงที่ พนักงานแต่ละคนจะได้รับมอบหมายงานเฉพาะ และทํางานในกลุ่มเดิมไม่ค่อยเปลี่ยน แต่ในองค์การสมัยใหม่พนักงานต้องเพิ่มศักยภาพของตนที่จะเรียนรุ้และสามารถทํางานที่เกี่ยวข้องได้รอบด้าน และมีการสับเปลี่ยนหน้าที่และกลุ่มงานอยู่เป็นประจํา ตัวอย่างเช่น ในบริษัทผลิตรถยนต์ พนักงานในแผนกผลิต ต้องสามารถใช้งานเครื่องจักรที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ด้วย ซึ่งในคำบรรยายลักษณะงาน (job description) เดียวกันนี้เมื่อ 20 ปีก่อนไม่มีการระบุไว้ดังนั้นในองค์การสมัยใหม่จะพัฒนาบุคลากรให้เพิ่มทักษะการทํางานได้หลากหลายมากขึ้น และในการพิจารณาค่าตอบแทนการทํางาน (compensation) ในองค์การสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะตอบแทนตามทักษะ ยิ่งมีความสามารถในการทํางานหลายอย่าง มากขึ้นก็ได้ค่าตอบแทนมากขึ้น แทนการให้ค่าตอบแทนตามลักษณะงานและหน้าที่รับผิดชอบ

องค์การแบบเดิม พนักงานจะทํางานในสถานที่ทํางานและเป็นเวลาที่แน่นอน แต่ในองค์สมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะให้อิสระกับพนักงานในการทํางานที่ใดก็ได้เมื่อไรก็ได้ แต่ต้องได้ผลงานตามที่กําหนด เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีเอื้อให้สามารถสื่อสารถึงกันได้แม้ทํางานคนละแห่ง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และโลกาภิวัตน์ทําให้คนต้องทํางานแข่งกับเวลามากขึ้นจนเบียดบังเวลาส่วนตัวและครอบครัว ดังนั้นองค์การสมัยใหม่จะให้เกิดความยืดหยุ่นในการทํางานทั้งเรื่องเวลาและสถานที่เพื่อให้สอดรับกับแนวโน้มวิถีการดําเนินชีวิตของพนักงานยุคใหม่


ความหมายของการจัดการ (Defining management)


การจัดการ (Management) หมายถึง ขบวนการที่ทําให้งานกิจกรรมต่างๆสําเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลด้วยคนและทรัพยากรขององค์การ ซึ่งตามความหมายนี้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ได้แก่ ขบวนการ (process) ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ขบวนการ ในความหมายของการจัดการนี้หมายถึงหน้าที่ต่างๆด้านการจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การโน้มนําองค์การ และการควบคุม ซึ่งจะได้อธิบายละเอียดต่อไปในหัวข้อต่อไปเกี่ยวกับ หน้าที่และขบวนการจัดการ


ประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness)


เป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของ การจัดการ โดยประสิทธิภาพ หมายถึง การทํางานอย่างถูกวิธี เป็นการเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนํา เข้า กับผลผลิต หากเราสามารถทํางานได้ผลผลิตมากกว่าในขณะที่ใช้ปัจจัยนําเข้าน้อยกว่า หรือ เท่ากัน ก็หมายความว่า เราทํางานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งปัจจัยนําเข้าในการจัดการก็คือทรัพยากรขององค์การ ได้แก่ คน เงิน วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร และทุน ทรัพยากรเหล่านี้มีจํากัด และเป็นต้นทุนในการดําเนินงานขององค์การ ดังนั้นการจัดการที่ดีจึงต้องพยายามทําให้มีการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดและให้เกิดผลผลิตมากที่สุด

ประสิทธิผล (effectiveness)


สําหรับประสิทธิผลในการจัดการหมายถึง การทําได้ตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ การจัดการที่มีเพียงประสิทธิภาพนั้นยังไม่เพียงพอต้องคำนึงว่า ผลผลิตนั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น สถาบันศึกษาที่ผลิตผู้สําเร็จการศึกษาพร้อมกันที่ละมากๆ หากไม่คำนึงถึงคุณภาพการศึกษาก็อาจจะได้แต่ประสิทธิภาพ คือใช้ทรัพยากรในการผลิตหรือต้นทุนต่อผู้เรียนตํ่า แต่อาจจะไม่ได้ประสิทธิผลในการศึกษา เป็นต้น และ ในทางกลับกันหากทํางานที่ได้ประสิทธิผลอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องคำนึงถึงต้นทุนและความมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น บริษัท อาจจะทําตลับหมึกสีสําหรับเครื่อง ที่มีสีเหมือนจริงและทนนานมากกว่าเดิมได้ แต่ต้องใช้เวลา แรงงาน และวัตถุดิบที่สูงขึ้นมาก ทางด้านประสิทธิผลออกมาดี แต่นับว่าไม่มีประสิทธิภาพ เพราะต้นทุนรวมสูงขึ้นมาก เป็นต้น

ในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น ต้องอาศัยความเข้าใจในสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านมนุษย์ศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ปรัชญา การเมือง จิตวิทยา และ สังคมศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ความได้เปรียบในการแข่งขัน เสรี ความขัดแย้ง การใช้อํานาจ และความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม



การวางแผน (planning)


เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดเป้าหมายขององค์การ สร้างกลยุทธ์ เพื่อแนวทางในการดําเนินไปสู่เป้าหมาย และกระจายจากกลยุทธ์ไปสู่แผนระดับปฏิบัติการ โดยกลยุทธ์และแผนในแต่ละระดับและแต่ละส่วนงานต้องสอดคล้องประสานกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในส่วนงานของตนและเป้าหมายรวมขององค์การด้วย


การจัดองค์การ(organizing)


เป็นกิจกรรมที่ทําเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างขององค์การ โดย พิจารณาว่า การที่จะทําให้ได้บรรลุตามเป้าหมายที่กําหนดไว้นั้น ต้องมีงานอะไรบ้าง และงานแต่ละอย่างจะสามารถจัดแบ่งกลุ่มงานได้อย่างไร มีใครบ้างเป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละส่วนงานนั้น และมีการรายงานบังคับบัญชาตามลําดับขั้นอย่างไร ใครเป็นผู้มีอํานาจในการตัดสินใจ


การโน้มนําพนักงาน (leading/influencing)


เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการให้พนักงานทํางาน อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งต้องใช้การประสานงาน การติดต่อสื่อสารที่ดี การจูงใจในการทํางาน ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นําที่เหมาะสม ลดความขัดแย้งและความตรึงเครียดในองค์การ


การควบคุม (controlling)


เมื่อองค์การมีเป้าหมาย และได้มีการวางแผนแล้วก็ทําการจัดโครงสร้างองค์การ ว่าจ้างพนักงาน ฝึกอบรม และสร้างแรงจูงใจให้ทํางาน และเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งต่างๆจะดําเนินไปตามที่ควรจะเป็น ผู้บริหารก็ต้องมีการควบคุมติดตามผลการปฏิบัติการ และ เปรียบเทียบผลงานจริงกับเป้าหมายหรือมาตรฐานที่กําหนดไว้ หากผลงานจริงเบี่ยงเบนไปจากเป้า หมายก็ต้องทําการปรับให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งขบวนการติดตามประเมินผล เปรียบเทียบ และ แก้ไขนี้ก็คือขบวนการควบคุม


บทบาทของการจัดการ (Managerial roles)


เมื่อกล่าวถึ งหน้าที่ที่ เกี่ยวกับการจัดการในองค์การมักมุ่งไปที่หน้าที่ต่างๆในขบวนการจัดการ 4 ประการ การวางแผน การจัดองค์การ การโน้มนํา และการควบคุ ดังที่กล่าวข้างต้น ซึ่งผู้บริหารแต่ละคนให้ความสําคัญและเวลาในการทําหน้าที่การจัดการเหล่านี้แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังขึ้นกับลักษณะการดําเนินงานขององค์การที่แตกต่างกันด้วย (เช่น มีลักษณะการดําเนินงานเป็นองค์การที่แสวงหากําไรหรือองค์การที่ไม่แสวงหากําไร) ระดับของผู้บริหารที่ต่างกัน (ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง) และขนาดขององค์การที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารที่อยู่ในระดับบริหารที่แตกต่างกันจะให้เวลาในการทํากิจกรรมของแต่ละหน้าที่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาถึงกิจกรรมของผู้บริหารในองค์การแล้ว เห็นว่าบทบาทของ การจัดการสามารถจัดแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม หรือที่เรียกว่า บทบาทด้านการจัดการของ ได้แก่ บทบาทด้านระหว่างบุคคล บทบาทด้านข้อมูล และบทบาทด้านการตัดสินใจ โดยแต่ละกลุ่มของบทบาทมีบทบาทย่อยดังต่อไปนี้


ทักษะของนักบริหาร (Management Skills)


ผู้บริหารไม่ว่าจะอยู่ในระดับใด หรืออยู่ในองค์การใดก็ทําหน้าที่ในการจัดการ 4 อย่าง ได้ แก่ การวางแผน (planning) การจัดองค์การ (organizing) การโน้มนํา และการควบคุม (controlling) และการที่ผู้บริหารจะสามารถทําหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการได้ประสบผลสําเร็จนั้น ต้องมีทักษะที่ดีด้านการจัดการ ซึ่งทักษะสําคัญในเบื้องต้นที่ผู้บริหารควรมีอย่างน้อย 3 อย่าง ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิค (technical skills) ทักษะด้านคน (human skills) และทักษะด้านความคิด


ทักษะด้านเทคนิค (technical skills) เป็นความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรุ้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับงาน สําหรับผู้บริหารระดับสูงทักษะความสามารถนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรุ้ทั่วไปของอุตสาหกรรม ขบวนการและผลิตภัณฑขององค์การ และสําหรับผู้บริหารระดับกลางและระดับต้น จะเป็นทักษะความสามารถเฉพาะด้านในงานที่ทํา เช่น การเงิน ทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศ การผลิต ระบบคอมพิวเตอร์ กฎหมาย การตลาด เป็นต้น ทักษะทางด้านเทคนิคมักเป็นความสามารถเกี่ยวกับตัวงาน เช่น ขบวนการหรือผลิตภัณฑ

ทักษะด้านคน เป็นทักษะในการทําให้เกิดความประสานงานกันของกลุ่มที่ผู้บริหารนั้นรับผิดชอบ เป็นการทํางานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทัศนคติ การสื่อสาร และผลประโยชน์ของบุคคลและกลุ่ม เป็นทักษะการทํางานกับคน

ทักษะด้านความคิด เป็นความสามารถในการมององค์การในภาพรวม ผู้บริหารที่มีทักษะด้านความคิด จะสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆในองค์การว่ามีผลต่อกันอย่างไร และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับปัจจัยแวดล้อมองค์การ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในส่วนหนึ่งขององค์การมีผลกระทบกับส่วนอื่นๆอย่างไร

ทักษะด้านความคิดนี้จะยิ่งมีความสําคัญมากขึ้นเมื่ออยู่ในระดับบริหารที่สูงขึ้น ขณะที่ทักษะด้านเทคนิคจะมีความสําคัญน้อยลงในระดับบริหารที่สูงขึ้น เนื่องจากผู้บริหารในระดับที่สูงจะเข้ามาดูแลในรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆในการผลิต และด้านเทคนิคน้อยลง แต่จะเน้นไปที่การมองภาพรวมขององค์การและทิศทางที่จะพัฒนาไปขององค์การมากกว่า ส่วนทักษะด้านคน ยังคงมีความสําคัญอย่างมากในทุกระดับของการบริหาร เพราะทุกระดับต้องเกี่ยวข้องกับคน



1. การจัดการ (Management) หมายถึง ขบวนการที่ทําให้งานกิจกรรมต่างๆสําเร็จลงได้อย่าง มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลด้วยคนและทรัพยากรขององค์การ




2. ประสิทธิภาพ หมายถึง การทํางานอย่างถูกวิธี เป็นการเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนําเข้า (inputs) กับผลผลิต (outputs) หากเราสามารถทํางานได้ผลผลิตมากกว่าในขณะที่ใช้ปัจจัยนําเข้าน้อยกว่า หรือ เท่ากัน ก็หมายความว่า เราทํางานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ส่วนประสิทธิผลในการจัดการหมายถึง การทําได้ตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงคที่กําหนดไว้ นั่นคือ ประสิทธิภาพจะเน้นที่วิธีการในการปฏิบัติงาน ส่วนประสิทธิผลจะเน้นที่ผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงาน



3. ขบวนการจัดการ (management process) ประกอบด้วย กิจกรรมที่สําคัญ 4 ประการ ได้แก่



1) การวางแผน (planning) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดเป้าหมาย และวางกลยุทธ์ รวมทั้งแผนปฏิบัติการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ

2) การจัดองค์การ (organizing) เป็นการจัดวางโครงสร้างองค์การเพื่อรองรับการดําเนินงานตามแผนที่วางไว้

3) การโน้มนํา (leading/influencing) เป็นการจูงใจ โน้มนําพนักงานรายบุคคลและกลุ่ม ให้ปฏิบัติงาน มีการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรับมือกับประเด็นต่างๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของพนักงานในองค์การ

4) การควบคุม (controlling) เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการติดตามประเมินผลงาน เปรียบเทียบกับเป้าหมาย หรือมาตรฐานที่กําหนดไว้ และทําการแก้ไข เพื่อให้ผลการดําเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย หรือมาตรฐานที่กําหนดไว้



ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=wbj&month=07-12-2007&group=29&gblog=8

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อาหารไทยอันลือชื่อ


อาหารไทย

อาหารไทย เป็นอาหารประจำของชนชาติไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย ขณะที่อาหารพื้นบ้าน หมายถึง อาหารที่นิยมรับประทานกันเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นได้ง่าย โดยอาศัยพืชผักหรือเครื่องประกอบ อาหาร ที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการสืบทอดวิธีปรุงและการรับประทานต่อๆ กันมา

อาหารไทยภาคอีสาน

หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิต ที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้า ไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา แจ่วบอง
ลักษณะการปรุงอาหารพื้นเมืองอีสานลาบ เป็นอาหารประเภทยำที่มีเนื้อมาสับละเอียดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆบางๆปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า พริก ข้าวคั่ว ต้นหอม ผักชี รับประทานกับผักพื้นเมือง นิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่ก้อย เป็นอาหารประเภทยำที่จะนำเนื้อย่างมาหั่นเป็นชิ้นๆผสมกับผักพื้นเมืองนิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่ ทานกับผักสดนานาชนิด ส่า เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำหนังหมู เนื้อหมูย่างสับมาผสมกับหัวปลี วุ้นเส้น แซ หรือ แซ่ เป็นอาหารประเภทยำที่นำเนื้อสดๆมาปรุงนิยมใช้กับเนื้อวัวและหมู คล้ายๆลาบแต่มักใส่เลือดสดๆด้วย กินกับผักสดตามชอบ คนโบราณนิยมกินเพราะเชื่อว่าเป็นยาชูกำลัง ปัจจุบันได้รับความนิยมเฉพาะในชนบทที่ห่างไกลอ่อม เป็นอาหารประเภทแกงแต่มีน้ำน้อยมีผัก พื้นเมืองหลายชนิดนิยมใช้กับเนื้อ ไก่และปลาหรือเนื้อกบเนื้อเขียดหรือเนื้อสัตว์อื่นๆแต่เน้นที่ปริมาณผักอ๋อ ลักษณะคล้ายอ่อมแต่ไม่ใส่ผัก(ใส่เพียงต้นหอม ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบแมงลัก) นิยมใช้ปลาตัวเล็ก กุ้ง หรือไข่มดแดงปรุง ใส่น้ำพอให้อาหารสุกหมก เป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยม ใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง กบ เขียด ผักและหน่อไม้ หมกหรือห่อหมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิอู๋ คล้ายหมกแต่ไม่ใช้ใบตอง นิยมใช้กับเนื้อปลาโดยเฉพาะปลาตัวเล็กๆ กับพวกลูกอ๊อดกบหม่ำ คือ ไส้กรอกเนื้อวัวผสมตับ ตะไคร้และเครื่องเทศอื่นๆหม่ำขึ้ปลา มีลักษณะคล้ายปลาร้าชนิดหนึ่งรสชาติค่อนข้างเปรี้ยว หมักกับข้าวเหนียวแจ่ว คือ น้ำพริกของชาวอีสานนิยมใส่ปลาร้าสับหรือน้ำปลาร้า บางครั้งใส่มะกอกพื้นบ้านก็เป็นแจ่วมะกอก รับประทานกับผักสด ลวก หรือนึ่ง เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทุกบ้านในภาคอีสาน เพราะมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก ตำซั่ว เป็นอาหารประเภทส้มตำชนิดหนึ่ง แต่ใส่ส่วนประกอบมากกว่า คือ ใส่ขนมจีน ผักดอง ผัก(เหมือนที่ใส่ขนมจีน) และมะเขือลาย หรือผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย


กินของไทย

ภาคกลางเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่นๆ ดังนั้นคนภาคกลางจึงชื่นชมและภูมิใจในความเป็นคนภาคกลางอย่างยิ่ง เหตุเพราะว่าความเป็นคนภาคกลางได้เปรียบกว่าภาคอื่นๆ ตรงที่รับเอารสชาตอาหารของทุกภาคมาเป็นส่วนผสมของอาหารพื้นเมือง ภาคกลาง ได้หมดไม่ว่าจะเป็น รสชาติเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ดอาหารหลักที่บริโภคเป็นประจำคือข้าวเจ้า

อาหารพื้นเมืองของคนภาคกลาง

คนภาคกลางชอบบริโภคน้ำพริกเป็นประจำบนโต๊ะอาหาร การบริโภคน้ำพริกของคนภาคกลางมีหลายรูปแบบ ซึ่งน้ำพริกจะต้องรับประทานกับผักพื้นบ้าน จนรวมเรียกว่าน้ำพริกผักจิ้มเป็นของที่แยกกันไม่ออกโดยปริยาย





น้ำพริกปลาทู

น้ำพริกปลาทู เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของภาคกลางและเป็นที่นิยมรับประทานกัน ทุกครัวเรือนไทยเพราะมีรสชาติที่ แสนอร่อยและสามารถหารับประทานได้แทบทุกจังหวัด

ปูผัดผงกะหรี่ อาหารนี้มีรสเค็ม หวานกะทิรสชาติปานกลางไว้ทานกับข้าวสวยร้อนๆ หรืออาจเป็นดัดแปลงราดขนมจีนหรือก๋วยเตี๋ยวก็ได้

ปลาช่อนเผาแม่ลา เป็นปลาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสิงห์บุรีมีรสชาติอร่อยกว่าปลาชนิดอื่นๆ นำมาเผาจิ้มกิน กับน้ำจิ้มที่มีรสเปรี้ยว หวานนิดจะอร่อยมาก


ภาคเหนือ ชาวเหนือส่วนใหญ่เป็นคนที่มีความอ่อนหวาน ยิ้มง่าย อะไรก็ เจ้า.. เจ้าไว้ก่อน อาหารภาคเหนือจึงมีรสชาติที่อ่อนหวาน ตามบุคลิกของคนเหนือไปด้วย หรือหากมีรสเผ็ดก็เผ็ดไม่มาก แต่จะมีรสเค็ม รสเปรี้ยวปานกลาง ส่วนรสหวานไม่มากเท่าไร อีกทั้งภาคเหนือมีอาณาเขต ติดประเทศลาวและพม่า วัฒนธรรมจึง ยักย้ายถ่ายเทกันอยู่ไปมา โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ที่เห็นอย่างแรกคือข้าวเหนียว หรือที่คนเหนือเรียกว่า ข้าวนึ่ง

อาหารพื้นเมืองของภาคเหนือ

อาหารภาดเหนือมีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด แต่ล่ะชนิดก็มีการปรุงอยู่ด้วยกัน หลายวิธี เช่น การแกง การจอ การส้า การยำ การเจี๋ยว การปี๊บ การคั่วหรือผัด ซึ่งการปรุงอาหารเหล่าน มักมีผักพื้นบ้านเป็นส่วนประกอบ ที่สำคัญอยู่ด้วย เช่น ผักกวางตุ้งมีดอก ใบและ ยอดตำลึง มะเขือขื่น มะเขือสีดา มะเขือยาว เป็นต้น


อาหารพื้นเมือง

ลักษณะเด่นของอาหารเหนืออีกอย่างที่แปลกแตกต่างจากท้องถิ่นไทย ก็คือ กับข้าว และ เครื่องจิ้มต่างๆ มักจะแห้งและมีเนื้อเหนียวแน่น กว่ากับข้าวของคนภาคกลาง ทั้งนี้เป็นเพราะ ต้องเป็นกับที่เหนียวแน่น ที่จะใช้ข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อน จึ้มติดขึ้นมาได้ มีได้ใช้คลุกกับข้าวสวย อย่างคนภาคกลาง มาตราฐานของกับข้าวไทย ทุกสำรับทุกภาค คือ น้ำพริก

น้ำพริกหนุ่ม การที่เรียกอย่างนั้นเป็นเพราะใช้พริกอ่อน หรือคนภาคเหนือเรียกว่า ยังหนุ่มเป็นหลัก นำมาจิ้มกับข้าวเหนียวร้อนๆ หรือ แคบหมูจะอร่อยที่สุด จะมีรสชาติเค็มและ เผ็ดเป็นหลักน้ำพริกหนุ่มเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของภาคเหนือสามารถหารับประทานได้แทบทุกจังหวัดของภาคเหนือ

แกงโฮะ แกงนี้โดยหลักเป็นแกงที่โละของเหลือมาจากในครัว นำแกงที่เหลือมาผัดและเคี่ยวรวมกัน แต่ถ้าจะให้ได้รสชาติอร่อยต้องใช้แกงที่บูดนิดๆ จะทำให้ได้รสเปรี้ยว จากความบูดเป็นการชูรสกลิ่นไปด้วย ไม่ต้องตกใจกลัวท้องเสีย เพราะความร้อนจะทำให้ความบูดนั้นสุก

ข้าวซอย เป็นอาหารจานเดียวที่รู้จักกันดีโดยดั้งเดิมข้าวซอยเป็นอาหารของจีนยูนาน น้ำแกงที่ใช้ราดเส้นบะหมี่ของข้าวซอย เป็นแกงกะทิใสๆ จะใส่เนื้อหรือไก่ก็อร่อยทั้งนั้น เวลารับประทานมักแกล้มด้วยหอมเล็กจะเพิ่มรสชาติอาหารยิ่งขึ้นโดยปกติข้าวซอยจะมีรสชาติเค็มนำ หวานกะทิ เปรี้ยวน้ำมะนาว

ภาคใต้


อุปนิสัยคนเมืองใต้ต่างจากภาคอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัดไม่ว่าจะเป็นการพูดจาของคนเมืองใต้ที่จะดูห้วนๆไม่เนิบนาบเหมือนคนภาคเหนือการบริโภคอาหารของคนภาคใต้ก็เช่นเดียวกัน ที่เเน้นรสเผ็ด รสเค็มและรสเปรี้ยวเป็นหลัก มักจะรับประทานกับผักต่างๆมากมาย

การที่อาหารภาคใต้มีรสร้อน รสเผ็ด และกลิ่นฉุนของแครื่องเทศก็เป็นเพราะวัฒนธรรมการบริโภคอาหารพื้นเมืองของชาวใต้นี้มีความเหมาะกับสภาพภูมิอากาศและสุขภาพอย่างมากมายเนื่อง

เนื่องจากภาคใต้มีภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้ง่ายแก่การเจ็บป่วย ดังนั้นอาหารพื้นเมืองที่รับประทานส่วนมาก จะมีรสเผ็ดช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและช่วยป้องกันการเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี

อาหารพื้นเมืองภาคใต้

ผู้ที่มาเยือนปักษ์ใต้ มักที่จะไปลิ้มลอง ลิ้มรสอาหารพื้นเมือง ที่ขึ้นชื่อของเมืองใต้กันเกือบทุกคนเพราะถ้ามาถึงเมืองใต้แล้วไม่รับประทานอาหารพื้นเมือง ก็เท่ากับว่ายังมาไม่ถึงภาคใต้ ภาคใต้เป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์กว่าภาคใด ๆ สังเกตจากความเขียวขจี ความชุ่มฉ่ำอุดมสมบูรณ์ของพื้นดิน ทำให้ภาคใต้มีพืชผักพื้นบ้าน นานาชนิด เช่น สะตอ ยอดกระถิน ใบชะพลู ยอดมะม่วงหิมพานต์ ลูกเนียง หน่อเรียงดอง

แกงพุงปลา หรือแกงไตปลา เป็นอาหารคาวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวใต้ นิยมรับประทานกันทั่วไป เป็นแกงเผ็ดมีน้ำมากกว่าเนื้อ รสค่อนไปทางเค็ม ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ปลาย่าง หน่อไม้ และที่สำคัญคือ ไตปลา

ขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ จะต่างจากภาคกลางตรงน้ำยา ซึ่งไม่นิยมใช้ปลาดุก แต่จะใช้ปลาทะเลที่มีเนื้อมาก และใช้ส้มแขกใส่ลงในน้ำยา ทำให้มีรสเปรี้ยว ผักพื้นบ้านที่นิยมกินกับขนมจีนได้แก่ ยอดมะม่วงหิมพานต์ สะตอ ลูกเนียง ผักกาดดอง ถั่วงอกดอง จังหวัดภูเก็ต ระนอง นิยมรับประทานเป็นอาหารมื้อเช้า

ข้าวยำ เป็นอาหารหลักของชาวใต้อีกชนิดหนึ่ง มีให้เลือกทั้งแบบราดน้ำบูดู และแบบที่ไม่ได้ราดน้ำบูดู แต่คลุกเคล้าด้วยเครื่องแกงรสเข้มข้น ประกอบด้วย ข้าวสวย ข้าวตังทอด มะพร้าวคั่ว กุ้งทอด ส้มโอ พริกป่น วิธีรับประทาน นำผักทั้งหมดมาจัดรวมกัน แล้วคลุกด้วยน้ำยำ ซึ่งทำด้วยน้ำบูดูที่เคี่ยวแล้ว

เต้าคั่ว เป็นอาหารจานเดียวของภาคใต้ มีเฉพาะจังหวัดสงขลา ส่วนผสมก็มี เส้นหมี่ลวกสุก หมูสามชั้น หูหมู เต้าหู้ทอด ไข่ต้ม ถั่วงอก ผักบุ้งลวก แตงกวา นำเครื่องปรุงทุกอย่างใส่จาน นำเครื่องปรุงรสที่เตรียมไว้ ซึ่งมีรสเปรี้ยว หวาน เค็ม

แกงเผ็ดเหม็งมะพร้าว ลักษณะคล้ายกับแกงเผ็ดของภาคกลาง แต่สีจะเข้มกว่า เพราะสีของขมิ้นที่ผสมในเครื่องแกง ทำให้แกงมีสีน่ารับประทาน

อาหารหวานของภาคใต้ที่มีชื่อเสียง และนิยมรับประทาน

ขนมเทียน ต่างจากขนมเทียนของภาคกลางตรงที่ไม่มีไส้ แต่จะมีสีขาวนวล ตามสีของน้ำตาลปี๊บ เหมาะสำหรับเป็นของว่าง ขนมนี้เป็นของจังหวัดนราธิวาส

ขนมมด ขนมนี้จะมีรสชาติหวานปานกลาง แป้งข้างนอกจะกรอบเล็กน้อย ส่วนข้างในจะนิ่มข้าวเหนียว หารับประทานได้ที่จังหวัดสงขลา

ขนมห่อหัวล้าน การที่ชื่อขนมเป็นแบบนี้ มาจากการราดกะทิแล้วทำให้ดูเหมือนหัวล้าน ใช้แป้งสองสี คือสีขาว กับสีดำ นิยมรับประทานเป็นของว่าง ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี

ขนมปาดา ลักษณะของขนมจะมีรูกลม มีไส้ข้างใน เป็นไส้คาว รสชาติขนมจะเค็ม เผ็ดพริกขี้หนูสด และหวานเล็กน้อย สามารถหารับประทานได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

ข้าวเหนียวลาวะ ลักษณะคล้ายน้ำกะทิทุเรียน แต่ใช้ไข่แทน จะมีรสชาติหวานมัน

ข้าวเหนียวปิ้งไส้กุ้ง เป็นขนมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพังงา มีรสชาติเค็ม มัน หวานกลมกล่อม ยิ่งเวลารับประทาน จะได้กลิ่นหอมจากใบตองไหม้ด้วย

แหล่งทีมา http://multiply.com/

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ดอกไม้เมืองหนาว ทิวลิป

ทิวลิป ในเมืองไทย

บรรยากาศเดือนกุมภาพันธ์นี้ “ตะลอนเที่ยว” มีความรู้สึกว่ารอบๆ ตัวถูกรายล้อมไปด้วยกลิ่นอายและไออุ่นแห่งความรัก ความหวาน ความสดชื่น เสียเหลือเกิน เพราะว่าเดือนกุมภาพันธ์นี้ถือว่าเป็นเดือนแห่งความรัก ที่มีทั้งวัน“มาฆะบูชา”(ปีนี้ตรงกับวันที่ 9 ก.พ.)วันแห่งความรักของชาวพุทธ และวัน“วาเลนไทน์” วันแห่งความรักของชาวตะวันตก(14 ก.พ.)ที่ผู้คนมากมายต่างจะบอกรัก และมอบความรักให้แก่กัน

และหนึ่งในสิ่งบอกรักที่เป็นรูปธรรมอันจับต้องได้ ก็ดูเหมือนว่าดอกไม้สวยๆ อย่างดอกกุหลาบสีแดง สีชมพูสักดอก ก็เหมือนจะเป็นสิ่งแทนใจที่สามารถสื่อบอกในความรักแทนคำพูดได้ จนทำให้ดอกกุหลาบกลายมาเป็นสัญลักษณ์ แห่งวันวาเลนไทน์ไปแล้ว

เอาล่ะเมื่อได้รู้ข้อมูลของทิวลิปกันพอสังเขปแล้ว ก็มาถึงเวลาที่เราจะขอพาทุกคนเปิดประตูเข้าสู่สวนทิวลิปที่สวยงามของเมืองไทย นั่นก็คือ “สวนทิวลิปนนท์” ที่ตั้งอยู่ที่จ.นนทบุรี หรือหากจะเรียกที่นี่ว่า “นนท์เธอร์แลนด์” ก็ว่าได้ เพราะเมื่อเดินเข้ามาภายในสวนทิวลิปนนท์ จะสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายและบรรยากาศแห่งดินแดนเนเธอร์แลนด์ (เหมือนเขายกเนเธอร์แลนด์มาไว้ที่เมืองไทย) ภายในพื้นที่สวนอันโล่งแจ้งมีภาพโปสเตอร์ท้องทุ่งทิวลิปขนาดใหญ่ให้ได้แอ็คท่าถ่ายรูปคู่อย่างสนุกสนาน มีกังหันลมสัญลักษณ์แห่งเนเธอร์แลนด์ตั้งเด่นเป็นสง่า มีบ้านชาวดัชท์จำลองให้ได้ชม พร้อมกับมีรองเท้าไม้ยักษ์สีเหลืองสดใสอีกหนึ่งในสัญลักษณ์ของเนเธอร์แลนด์ แถมยังมีวัวดัชท์จำลองให้เห็นถึงวีถีชีวิตของชาวดัชท์

ภายในโรงเรือนจัดแสดงกระบวนการเติบโตของดอกทิวลิปให้ชม
และในการมาเที่ยวสวนทิวลิปนนท์ของเราในทริปนี้ ขอบอกว่าเราโชคดีมากเพราะว่าเราได้รับเกียรติจากคุณสรศักดิ์ หมัดป้องตัว ตำแหน่งเป็นผู้ประสานงานสวนทิวลิปนนท์ มาคอยเป็นไกด์กิตติมศักดิ์ผู้ใจดีให้ความรู้และนำชมสวนทิวลิปนนท์กัน

คุณสรศักดิ์ พาเราเดินไปพร้อมกับเล่าถึงที่ไปที่มาของการเกิดสวนทิวลิปที่เมืองนนทบุรีให้ฟังว่า ทางบริษัท U & V Inter-Trade จำกัด ได้ริเริ่มทำการทดลองปลูกดอกทิวลิปขึ้นมา ณ จ.นนทบุรี มาตั้งแต่เมื่อประมาณเดือน ต.ค. ปี 2550 โดยได้นำเข้าหัวพันธุ์ดอกทิวลิป จำนวน 80,000 หัว จากประเทศเนเธอร์แลนด์ มาเพาะชำในโรงเรือนแบบเปิด และควบคุมปรับเรื่องอากาศอย่างดีตามความเย็นที่ดอกทิวลิปชอบ และก็ออกดอกมาให้ได้ชื่นชมกันในต้นปี 2551 แล้วมีผู้คนมาเห็นและก็ให้ความสนใจว่าที่เมืองนนท์ปลูกดอกทิวลิปได้อย่างไร ทางสวนจึงได้อนุญาตให้เข้ามาเที่ยวชมได้ และเมื่อมีผู้คนมาชมกันเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เลยเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นมา โดยไม่คิดค่าเช้าชม เพื่อหวังให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกหนึ่งแห่งของ จ.นนทบุรี

สรศักดิ์ หมัดป้องตัว ผู้ประสานงานสวนทิวลิปนนท์
“มันเหมือนเป็นความท้าทาย และอยากให้รู้ถึงความสามารถของคนไทยที่สามารถเอาชนะไม้เมืองหนาวได้ที่สามารถนำมาปลูกในเมืองไทยได้ นักท่องเที่ยวที่มาชมดอกทิวลิปที่สวนของเราจะได้เรียนรู้ถึงการปลูกดอกทิวลิปว่าเป็นอย่างไร” สรศักดิ์ บอกพร้อมกับพาเราเข้าไปชมสวนทิวลิปที่อยู่ภายในโรงเรือน

สำหรับโรงเรือนปลูกดอกทิวลิปของสวนทิวลิปนนท์นี้ ในปี 2552 นี้ทางสวนได้ทำเป็นโรงเรือนแบบปิด สร้างด้วยหลังคาโครงเหล็ก คลุมด้วยพลาสติกยูวีเอ 60 % และภายในโรงเรือนเย็นฉ่ำ เพราะต้องควบคุมอุณหภูมิด้วยแอร์อยู่หลายเครื่อง เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้มีความเย็นอยู่ที่ 16-20 องศาเซลเซียส และควบคุมเรื่องความชื้นอยู่ที่ 80% ต่ำสุด60%

บ้านของชาวดัชท์มีจำลองไว้ได้ชมกัน

เมื่อเข้ามาภายในโรงเรือนจะได้เห็นทิวลิปที่ถูกปลูกอยู่ภายในกระบะวางเรียงเป็นแถวเป็นระเบียบ ซึ่งจะมีให้เห็นตั้งแต่เริ่มปลูกตั้งแต่แรก และจะได้เห็นทิวลิปที่โตไร่เรียงกันไปเรื่อยๆ ตามการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ทำให้เห็นได้ว่าที่สวนทิวลิปนนท์แห่งนี้ เขาสามารถเพาะและปลูกทิวลิปได้อย่างจริงๆ ถือว่าเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ และทำให้เราทุกคนได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกทิวลิปว่าทำได้อย่างไร และได้ชื่นชมกับความงดงามของดอกทิวลิปหลากหลายสายพันธุ์ที่ทางสวนได้นำมาปลูกไว้



ภายในสวนมีกังหันสัญลักษณ์แห่งเนเธอร์แลนด์ด้วย


ดอกทิวลิปที่ทางสวนนำมาปลูกไว้ในปีนี้นำเข้ามาจากประเทศเนเธอร์แลนด์กว่า100,000 หัว และมีถึง 15 สายพันธุ์ อาทิ World's Favorite ดอกสีแดงสดใส สลับด้วยขอบปลายดอกสีเหลืองสดตัดกันได้อย่างลงตัว ก้านและใบสีเขียวเข้มเรียวยาวดูสวยงาม, Parade ดอกสีแดงสดใสมันวาว ก้านดอกแข็งแรง ลำต้น, Orange Queen ดอกสีส้มสดใสโทนแดง ตรงกลางก้านดอกแต้ม ด้วยสีเหลืองสด, Negrita ต้นและใบสีเขียวอ่อน ตัดกับดอกสีม่วงแกมแดงเหมือนสีไวน์ชั้นยอดพรมด้วยสีเงินประปราย ปลายกลีบดอกหยิกเป็นลอน, Ile de France ดอกทิวลิปสีแดงสดที่สุดในจำนวนทิวลิปพันธุ์สีแดงทั้งหมด, Golden Apeldoorn ดอกสีเหลืองทอง ปลายกลีบดอกหยิกย้วย เหมือนหางนกแก้วมาคอร์, Barcelona ดอกสีม่วงแดงกลีบดอกโค้งมนรัดรูปก้านดอกใหญ่ใบเรียวสีเขียวจัด ฯลฯ

ดัชท์ก็มีจำลองมาให้เข้ากับบรรยากาศ

แล้วนอกจากดอกทิวลิปที่สวยงามแล้ว ก็ยังมีไม้ดอกเมืองหนาวอื่นๆ ให้ได้ชมกันอีก อาทิ ลิลลี, เทเท่ อะ เทเท่, ดัช มาสเตอร์, ไอซ์ โฟลายส์, ไบรเดิ้ล คราวน์, ฮายซินท์ ไวท์เพอลล์, ฮายซินท์ พิงค์เพอลล์, ฮายซินท์ แจนบอส, มุสการี่ บลู เมจิก

เรียกว่าหากมาเที่ยวที่ “สวนทิวลิปนนท์” ก็จะได้มาถ่ายรูปคู่กับดอกทิวลิปสวยๆ และดอกไม้อื่นๆ อย่างเพลิดเพลิน แต่ก็ขอบอกไว้ก่อนว่าควรมาชมแต่ตามืออย่าจับต้องดอกไม้น่ะจ๊ะ เพราะดอกไม้สวยๆ จะตายได้ ทำให้คนอื่นที่มาทีหลังจะไม่ได้ชม และอีกอย่างหากถ่ายรูปใกล้ๆ ดอกไม้ก็ไม่ควรใช้แฟลตเพราะจะทำให้ดอกไม้บานเกินเหตุ เพราะคิดว่าแสงแฟลตนั้นคือแสงแดด

มีร้านค้าให้ได้ซื้อดอกทิวลิปติดไม้ติดมือกลับไปบ้านด้วย
เอาเป็นว่าแค่ได้เห็นดอกทิวลิปจริงๆ และถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกก็น่าจะเพียงพอแล้ว อีกทั้งที่สวนฯ ก็ยังมีดอกทิวลิปจำหน่ายให้ได้ซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านไปด้วย เพียงแค่นี้ก็น่าจะทำให้หลายๆ คนได้สุขใจ เหมือนที่ “ตะลอนเที่ยว” ได้มาเที่ยวชมดอกทิวลิปที่สวนทิวลิปนนท์แห่งนี้แล้ว มันมีความรู้สึกว่าเมื่อดอกทิวลิปมันเบ่งบานอยู่ในหัวใจ ในห้วงเวลาแห่งความรักนี้ มันช่างมีความสุขใจจริงๆ เลย


เเหล่งที่มา
http://www.rssthai.com/reader.php?t=travel&r=13291

สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ





1. พีระมิดอียิปต์ (The Pyramids of Egypt)

พีระมิดอียิปต์เป็นสิ่งมหัสจรรย์ยุคโบราณเพียงสิ่งเดียวที่ยังคงสภาพเกือบสมบูรณ์เหมือนในอดีต ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ณ เมืองกีเซ (Giza) ตอนเหนือของกรุงไคโร เมืองหลวงของอียิปต์ ประกอบไปด้วยพีระมิดใหญ่ 3 องค์ คือ พีระมิดที่บรรจุพระศพของฟาโรห์คีออปส์ (Cheops) คีเฟรน (Chephren) และไมเซอริมุส (Mycerimus) พีระมิดคีออปส์ เป็นพีระมิดที่ใหญ่ที่สุด สร้างขึ้นมาเมื่อประมาณ 3500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เดิมสูงถึง 481 ฟุต แต่ปัจจุบันลดลงเหลือ 450 ฟุต ฐานของพีระมิดครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 32.5 ไร่ ( 13 เอเคอร์ ) สร้างขึ้นโดยการใช้หินทรายตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมก้อนละประมาณ 2.5 ตัน ถึง 30 ตัน โดยใช้หินทั้งหมดกว่า 2.3 ล้านก้อน ใช้แรงงานทาสและกรรมกรในการก่อสร้างประมาณ 100,000 คน ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 20 ปี สำหรับพีระมิดคีเฟรนหรือพีระมิดรูปสฟิงซ์ซึ่งเป็นคนครึ่งราชสีห์ โดยมีใบหน้าเป็นคนมีตัวเป็นราชสีห์อยู่ในท่าหมอบเฝ้าหน้าพีระมิดคีออปส์สูงประมาณ 66

ทัศมาฮาล

อนุสรณ์แห่งความรักของกษัตริย์ชาห์เจฮานแห่งราชวงศ์โมกุลที่มีต่อมเหสี ข้างใต้เป็นที่ไว้พระศพของ 2 พระองค์เคียงคู่กัน เริ่มสร้างในปีค.ศ. 1631 ใช้เวลากว่า 10 ปีและเงินทองมหาศาลกว่าจะสร้างเสร็จ ตัวอาคารสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวประดับประดาเป็นลวดลายงดงามยิ่ง ตามแผนเดิมเจฮานจะสร้างที่ไว้พระศพของพระองค์ด้วยหินอ่อนสีดำอยู่ตรงข้ามกัน แต่พระองค์กลับถูกจับไปขังไว่เสียก่อนจนสิ้นพระชนม์ในที่คุมขังในที่สุด ความหัศจรรย์ของทัชมาฮาลจึงอยู่ที่ความงามและเรื่องราวอันเป็นกำเนิดของการก่อสร้างที่ยังคงเป็นที่เล่าขานมาจนทุกวันนี้



หอเอนปิซ่า
หอนั้นสูง 181 ฟุต มี 8 ชั้น เริ่มสร้างในปีค.ศ. 1174 เพื่อใช้เป็นหอระฆังและได้สร้างไปเรื่อย 180 ปีเสร็จไป 3 ชั้นและเอียงออกห่างจากจุดศูนย์กลางไป 5 เซนติเมตรทำให้การก่อสร้างหยุดชะงักไป และกลับมาก่อมาเริ่มสร้างต่ออีกครั้งในปี 1275 โดยสร้างเติมอีก 3 ชั้นและพยายามขืนไม่ให้ชั้นบนนั้นเอียงไปเหมือน 3 ชั้นล่าง แต่อย่างไรก็ดีในขระนั้นหอได้เอียงไปเมตรครึ่งแล้ว ในช่วงศตวรรษ์ที่ 16 หอเอนปิซาได้เอนจากจุดศูนย์กลาง 3.79 เมตร และเมื่อวัดในศตวรรษ์ที่ 19 หอได้เอนเพิ่ม 5 เซนติเมตร และเมื่อมีการวัดไปเรื่อยในปีต่อไปๆหอเอนเพิ่มเรื่อยประมาณ 1.2 มิลลิเมตรต่อปี


กำเเพงเมืองจีน

กำแพงเมืองจีนมีกำเนิดมานานกว่า 2,000 ปีแล้วและยังมีการก่อสร้างเพิ่มเติมหลายยุคหลายสมัย หลายราชวงศ์ ใช้หยาดเหงื่อแรงงานทหาร เชลยศึก บ่าวไพร และกองกำลังส่งเสบียงเสรีมกำลังให้หน่วยต่างๆอีกหลายล้านคน ซึ่งในยุคสมัยนั้นโลกเราแทบจะไม่มีอะไรเลยเป็นเครื่งทุ่นแรงเลยและดินแดนที่สร้างกำแพงยักษ์นี้ยังแห้งแล้งกันดาร ร้อนจัดในฤดูร้อน หนาวจัดในฤดูหนาว จำนวนแรงงานที่สูญเสียไปเท่าไรไม่ทราบแต่กวีจีนได้แต่งเอาไว้ว่า "ใต้กำแพงหมื้นลี้ กระดูกผีคำกันเป็นโครงเสา" นอกจำนวนแรงงานมหาศาลที่ใช้ในการก่อสร้างแล้วความยาวของกำแพงที่ทำให้เรียกว่ากำแพงหมื้นลี้นั้น ความจริงมีความยาวกว่า 5,000 กิโลเมตรยาวกว่าใต้สุดไปเหนือสุดประเทศไทยเสียอีก นอกจากนี้ตลอดความยาวของแนวกำแพง ยังประกอบไปด้วยป้อมค่าย หอเพลิง และหอส่งสัญาณอีกมากมายโดยความกว้างของกำแพงนั้นกว้าง 3-7 เมตง ซึ่งกองทหารม้าสามรถเรียงแถวเดินหน้ากระดานได้เลยที่เดียวและสูง 3-7 เมตร มูลเหตุที่ทำให้สร้างกำแพงเมืองจีนนั้น เนื่องจากทางตอนใต้ของนั้นอุดทสมบรูณ์ผิดกับทางตอนเหนือที่มีแต่ทะเลทรายทำให้ศัตรูทางตอนเหนือยกพลมาตีบ่อยๆ จนจิ้นซี่ฮ้องเต้มีพระราชโองการให้สร้างกำแพงปิดล้อมทางภาคเหนือเอาไว้ ในสายตาของมนุษย์อวากาศที่ขึ้นไปโคจรรอบนั้นได้รายงานกลับโลกมาว่าสิ่งก่อสร้าสิ่งเดียวที่มองเห็นอยู่ได้นั้น คือ "กำแพงยักษ์ รูปร่างเหมือนงูที่กำลังกระหวัดรัดโลกอยู่เหนือเมืองจีน


นครวัด

ปราสาทนครวัดเป็นศิลปะขอมแบบนครวัด เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ลัทธไศวนิกาย ผู้สร้างคือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (Suryavarman II) ในราวปี พ.ศ. 1656 -1693 ปราสาทนครวัด นี้เป็นศูนย์กลางของโลกและจักรวาลเมื่อราว 1,000 ปีมาแล้ว สร้างขึ้นโดยมีกำแพงล้อมรอบ มีความยาว 1,025 เมตร ความกว้าง 802 เมตร รวมพี้นที่ทั้งหมดประมาณ 200,000 ตารางเมตร ปรางค์ปราสาทสูง 65 เมตร นักโบราณคดี สันนิษฐานว่าจะต้องใช้หินในการก่อสร้างรวมกว่า 6 แสนลูกบาศก์เมตร ใช้ช้างกว่า 4 หมื่นเชือก และแรงงานคนนับแสน โดยทำการขนหินจากเทือกเขาพนมกุเลน (ล่องมาตามแม่น้ำโขง) ซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 50 กิโลเมตร ปราสาทนครวัดมีเสาหินรวมกันทั้งหมด 1, 800 ต้นแต่ละต้นหนักกว่า 10 ตันขึ้นไป ใช้ช่างฝีมือหรือประติมากร สลักจำหลักหินราว 5,000 คน ใช้เวลาแกะสลัก 40 ปี รวมเวลาในการก่อสร้างต่อเนื่องนานหลายร้อยปี จึงจะสร้างเสร็จ ปราสาทนครวัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ต่างจากปราสาทอื่นๆ เพราะเป็นการสร้างเทวาลัยและเทวสถานสำหรับไว้พระบรมศพของพระองค์ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงนับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นเทพเจ้าสูงสุด เชื่อว่า เมื่อสวรรคตแล้วดวงวิญญาณของพระองค์จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระวิษณุ จึงสร้างมหาปราสาทใหญ่โต เพื่อเป็นการแสดงถึงความทะเยอทะยานและเป็นการบูชาแด่องค์พระวิษณุ ปราสาทนครวัดมีพระปรางค์ทั้งหมด 5 ยอด มีทางเดินเข้าสู่ระเบียงชั้นกลางและชั้นบนสุด มีปรางค์พระประธานอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยปรางค์เล็กอยู่ทั้ง 4 ทิศ มีทางเดินเป็นบันไดขึ้นไปทีละขั้น ซึ่งบันไดนี้เป็นเปรียบเสมือนสะพานที่อสูรกายและเทวดา กำลังกวนเกษียรสมุทรเพื่อให้ได้น้ำอมฤต ใครที่เดินผ่านไปเชื่อว่าได้ประพรมน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ จะทำให้มีโชคลาภหรือหายจากการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือบ้างก็เปรียบว่าเป็นสะพานรุ้งนำขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ ปราสาทพระปรางค์องค์กลาง ใช้เป็นที่ตั้งโกศพระบรมศพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เมื่อทรงสวรรคต เพื่อให้ประชาชนเข้าไปกราบสักการะบูชา
แหล่งทีมา

http://www.paiteaw.com/gallery/45/

สถาปัตยกรรมบ้านไทย



สถาปัตยกรรมไทย

สถาปัตยกรรมไทย หมายถึงศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่มี มูลเหตุที่มาของการก่อสร้าง การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในแต่ละ ท้องถิ่น จะมีลักษณะผิดแผกแตกต่างกันไปบ้าง ตามสภาพทาง ภูมิศาสตร์ และคตินิยมของแต่ละท้องถิ่น แต่สิ่งก่อสร้างทางศาสนา พุทธมักจะมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะมีความเชื่อ ความศรัทธาและแบบแผนพิธีกรรมที่เหมือน ๆ กัน สถาปัตยกรรมที่ มันนิยมนำมาเป็นข้อศึกษา มักเป็น สถูป เจดีย์ โบสถ์ วิหาร หรือ พระราชวัง เนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างที่คงทน มีการพัฒนารูปแบบมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และได้รับการสรรค์สร้างจากช่างฝีมือที่ เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งมีความเป็นมาที่สำคัญควรแก่การศึกษา อีกประ การหนึ่งก็คือ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ล้วนมีความทนทาน มีอายุยาวนาน ปรากฎเป็นอนุสรณ์ให้เราได้ศึกษาเป็นอย่างดี สถาปัตยกรรมไทย สามารถจัดหมวดหมู่ ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ



1. สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนัก วังและพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิดคือ เรือนเครื่องผูก




เป็นเรือนไม้ไผ่ ปูด้วยฟากไม้ไผ่ หลังคามุงด้วย ใบจาก หญ้าคา หรือใบไม้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เรือนเครื่องสับ เป็นไม้จริงทั้งเนื้ออ่อน และเนื้อแข็ง ตามแต่ละท้องถิ่น หลังคามุง ด้วยกระเบื้องดินเผา พื้นและฝาเป็นไม้จริงทั้งหมด ลักษณะเรือน ไม้ของไทยในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน และโดยทั่วไปแล้วจะมี ลักษณะสำคัญร่วมกันคือ เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง หลังคา ทรงจั่วเอียงลาดชัน ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ ใช้เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์ สำหรับพระราชวัง เป็นที่ประทับของพระมหากษัติรย์ พระที่นั่ง เป็นอาคารที่มีท้อง พระโรงซึ่งมีที่ประทับสำหรับออกว่าราชการ หรือกิจการอื่น ๆ



2. สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในบิรเวณสงฆ์ ที่


เรียกว่า วัด ซึ่งประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมหลายอย่าง ได้แก่ โบสถ์ เป็นที่กระทำสังฆกรรมของพระภิกษุ วิหารใช้ประดิษฐาน พระพุทธรูปสำคัญ และกระทำสังฆกรรมด้วยเหมือนกัน กุฎิ เป็นที่ อยู่ของพระภิกษุ สามเณร หอไตร เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญทางศาสนา หอระฆังและหอกลอง เป็นที่ใช้เก็บ ระฆังหรือกลองเพื่อตีบอกโมงยาม หรือเรียกชุมนุมชาวบ้าน สถูป เป็นที่ฝังสพ เจดีย์ เป็นที่ระลึกอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนา ซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภท คือ


1. ธาตุเจดีย์ หมายถึง พระบรมธาตุ และเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า


2. ธรรมเจดีย์ หมายถึง พระธรรม พระวินัย คำสั่งสอนทุกอย่างของพระพุทธเจ้า


3. บริโภคเจดีย์ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ของพระพุทธเจ้า หรือ ของพระภิกษูสงฆ์ได้แก่ เครื่องอัฐบริขารทั้งหลาย


4. อุเทสิกเจดีย์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงองค์ พระพุทธเจ้า เช่น สถูปเจดีย์ ณ สถานที่ทรงประสูติ ตรัสรู้ แสดง ปฐมเทศนา ปรินิพพาน และรวมถึงสัญลักษณ์อย่างอื่น เช่น พระ พุทธรูป ธรรมจักร ต้นโพธิ์ เป็น





แหล่งที่มา <
http://www.google.co.th/image

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อาหารญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องอาหารการกินเป็นอย่างมาก อาหารจะได้รับการตกแต่งอย่างปราณีต เน้นความสดและความสวยงาม ทำให้ผู้ที่ได้ชิมก็ได้รู้สึกว่าได้บริโภคความงามลงไปด้วย อิ่มตาและอิ่มท้องเลยละค่ะ ร้านอาหารในญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะแขวนโคมแดงอยู่หน้าร้าน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การกินดื่มของญี่ปุ่น อาหารที่นิยมทานกันในหมู่คนญี่ปุ่น ก็จะเป็นจำพวกปลา เช่น ปลาทอดตามแบบฉบับของญี่ปุ่น อาหารทะเล อาหารประเภทปิ้งหรือย่าง เช่น ยากิโตริ (yakitori-ไก่เสียบไม้ปิ้ง) ข้าวปั้นทอด ซาซิมิ (sashimi) และโซบะ ราเม็ง


บะหมี่ : คนญี่ปุ่นนิยมกินบะหมี่กันตลอดทั้งปี บะหมี่มี 3 ชนิดหลักๆด้วยกัน คือ โซบะ, อุด้ง และ โซเม็ง

โซบะ : ทำจากบักวีต เส้นจะมีสีน้ำตาลบาง ผู้คนนิยมทานโซบะกันมากที่สุด เพราะติดใจในแป้งบักวีต โดยเฉพาะรสชาติที่อร่อยของเส้นที่ไม่ผสมแป้งชนิดอื่นลงไปมากนัก โดยทั่วไปโซบะจะเสิร์ฟพร้อมวาซาบิ (wasabi) หอมหัวใหญ่ฝาน น้ำจิ้มทำจากมิริน (mirin-สาเกหวาน) และคัตสึโอะบูชิ (เกล็ดปลาแห้ง) โซบะแบบนี้หากเสิร์ฟแบบเย็นบนซารุหรือถาดไม้ไผ่ จะเรียกว่า ซารุโซบะ (zarusoba) ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมในหน้าร้อน


โซเม็ง : เป็นบะหมี่นิยมทานในหน้าร้อนเช่นกัน เส้นของโซเม็งทำจากข้าวสาลี (sobako-ข้าวสาลี) ดังนั้นเส้นจึงมีสีขาวนวลและเส้นจะบางกว่าโซบะ เส้นโซเม็งจะนุ่มสามารถดัดแปลงทำอาหารได้หลายอย่าง โซเม็งสามารถเสิร์ฟแบบโงะโมะคุ (gomoku-ห้ารส) โดยโรยไข่เจียวซอยเส้น ไก่ และผักต่างๆ หรือเสิร์ฟแบบโงะมะดาเระ (gomadare) ที่มีมะเขือยาว ปลา และชิโสะ (shiso) เป็นเครื่องเคียง เสิร์ฟแบบเย็นก็มี เรียกว่า ฮิยะชิ-hiyashi ที่ใส่แต่ซอสถั่วเหลืองผสมน้ำมันงา โซเม็งเป็นอาหารเบาๆที่ช่วยทำให้สดชื่นในหน้าร้อน
อุด้ง : เป็นอาหารยอดนิยมในหน้าหนาว อุด้งทำจากข้าวสาลี และมีเส้นหนาถึงหนามาก โดยจะเสิร์ฟพร้อมน้ำซุปซอสถั่วเหลืองร้อนๆ หอมหัวใหญ่ฝาน ผักชนิดต่างๆและไข่ อุด้งจะต่างจากโซบะและราเม็งเวลารับประทานตรงที่ ไม่ต้องจุ่มเส้นในน้ำซุปก่อนรับประทาน เส้นอุด้งจะมีขนาดเส้นที่ใหญ่และเหนียวนุ่ม จึงให้ความอบอุ่นเป็นอย่างดีในหน้าหนาว
วิธีการกินบะหมี่ญี่ปุ่นให้อร่อย จะใช้ตะเกียบคีบและกลืนลงคอด้วยเสียงอันดังตามแบบญี่ปุ่น บางคนอาจจะเขินที่กินเสียงดัง ซู้ดซาด แต่ที่นี่ถือเป็นมารยาทที่ยอมรับกันทั่วไป ให้เกียรติแก่คนทำที่ทำบะหมี่อร่อยๆให้ทาน ผู้เชี่ยวชาญ(การกิน) กล่าวว่าเสียงยิ่งดัง ยิ่งอร่อย นะจะบอกให้...


ซูชิและซาซิมิ : เป็นการผสมผสานของรสชาติและหน้าตาอาหาร อาหารทั้งสองชนิดเป็นอาหารทะเลดิบที่คนญี่ปุ่นโปรดปราน และตอนนี้ก็น่าจะเป็นอาหารยอดฮิตในเมืองไทยด้วย ซูชิที่ทีต้องใช้ส่วนผสมคุณภาพดี ข้าวก็ต้องผ่านการอบและออกรสเปรี้ยวพอดี ส่วนเครื่องโรยหน้าก็ต้องสด คนที่ชอบปลาดิบและอาหารทะเลสดๆ ทานคู่กับวาซาบิ อื้อฮือ..ขึ้นจมูกน้ำหูน้ำตาไหล แต่อาย่อย ถ้าไปที่ญี่ปุ่นแล้วยังไม่คุ้นกับเมนูไม่รู้จะทานอะไรดี ลองไปนั่งที่ไคเต็นซูชิยะ (kaitensushi-ya) ซึ่งเป็นร้านที่เป็นเคาน์เตอร์ มีจานซูชิหน้าต่างๆไหลไปตามสายพาน ชอบใจอันไหนก็หยิบมาได้เลย แถมราคาไม่แพงอีกด้วย


นาเบโมโนะ : เป็นอาหารประเภทหม้ออุ่นร้อนๆ ญี่ปุ่นมีอาหารจานร้อน (นาเบะเรียวริ-nabe-ryori) ให้ลิ้มลองทุกพื้นที่ นาเบะโมโนะเป็นอาหารของฤดูหนาวที่ขึ้นชื่อ นอกจากนี้ยังมี อิชิคารินาเบะ ที่ใส่ปลาแซลมอน หัวหอม ผักกาดขาว เต้าหู้ คอนยะกุ(หัวบุก) และชุงงิกุ(ใบตั้งโอ๋), โฮโต (hoto) ที่ใส่อุด้ง ไดกง(หัวไชเท้า)


นินจิน(แครอท) โกะโบ หัวหอม ผักกาดขาว และไก่ และชิรินาเบะ ที่ใส่เนื้อปลาปักเป้าขาว ผักกาดขาว เห็ด เต้าหู้และเส้นหมี่ขาว
ส่วนอาหารจานด่วนแบบโตเกียว คือ โอเด็งนาเบะ ซึ่งใส่มันฝรั่ง เต้าหู้ บุก ไข่ต้ม ปลาหมึก แครอท หัวไชเท้า สาหร่ายทะเล และอื่นๆตามสูตร โอเด็งเป็นอาหารที่หาซื้อได้ง่าย มีขายตามร้านสะดวกซื้อ และให้ความอบอุ่นเป็นอย่างดีในหน้าหนาว

สึเกโมโนะ : ก็คือผักดองแบบญี่ปุ่น(tsukemono) อาหารญี่ปุ่นทุกมื้อจะเสิร์ฟพร้อมสึเกโมโนะ ซึ่งเป็นเครื่องเคียงเสริมหน้าตาและรสชาติให้อาหารน่ารับประทานมากขึ้น นอกจากนี้ผักดองยังช่วยล้างปาก ล้างคาวเพื่อลิ้มลองอาหารชนิดใหม่ เช่น ถ้าทานปลาดิบ แล้วตามด้วยผักดอง จะช่วยล้างความคาวออกจากปาก เพื่อหันไปลองเทมปุระกุ้ง ที่ชิมความหวานของกุ้งได้เต็มปากเต็มคำ ส่วนผสมของผักดองจะต่างไปตามฤดูกาลและมีความหลากหลาย ที่นิยมทานกันทั่วไป คือ ผักกาดขาว ไผ่ หัวผักกาด คิวริ(แตงกวาญี่ปุ่น) แฮกเบอร์รี่ หัวไชเท้า ขิง นะสุ(มะเขือยาวญี่ปุ่น) อูโดะ(หน่อไม้ฝรั่ง) และอื่นๆ


เบ็นโต : เนื่องจากความรีบเร่ง จึงเกิดอาหารจานด่วนที่จัดลงในกล่องสวยงาม อาหารกล่องอย่างเบ็นโตราคาไม่แพง ซื้อหาสะดวกได้ตามร้านสะดวกซื้อ เบ็นโตถึงแม้จะเป็นอาหารราคาประหยัดแต่ก็จัดเรียงอย่างสวยงาม ในกล่องที่มีช่องเล็กช่องน้อยเพื่อวางอาหารและเครื่องเคียง สังเกตว่าร้านอาหารญี่ปุ่นในเมืองไทย เบ็นโตก็เป็นเมนูที่ได้รับความนิยมจากผู้ที่ชื่นชอบอาหารญี่ปุ่น เพราะมีอาหารหลายอย่างบรรจุลงในกล่อง เรียกได้ว่าชิมอย่างละนิดละหน่อยแต่หลากหลาย


แหล่งที่มา http://www.google.co.th/#hl=th&source=hp

ผลไม้ไทย

ผลไม้ไทย
วิตามิน และแร่ธาตุที่ร่างกายเราได้รับจากการกินผลไม้เข้าไปทุกว้น เปรียบเหมือนสารหล่อลื่น
ที่ทำให้เครืืองยนต์ หรือ กระบวนการต่างๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ

นอกจากนั้น ผลไม้ทุกชนิดยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารและสารพฤกษเคมีสำคัญ
หลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านสารอนุมูลอิสระ หรือ แอนติออกซิแดนท์ ( Antioxidant )
ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ อีกทั้งยังช่วยชะลอความชราได้อีกด้วย

"บ้านเราเป็นประเทศที่โชคดีทีเดียว มีผลไม้มากมายหลายชนิดให้เลือกซื้อรับประทาน
แทบทุกฤดูกาลจากทุกภูมิภาคเลยก็ว่าได้ นี่ยังไม่รวมแอ๊ปเปิ้ลเมืองจีน องุ่นแดงแคลิฟอร์เนีย
และผลไม้อิมพอร์ตทั้งหลาย


"พอเรามีตัวเลือกมากขึ้น หลายคนจึงหลงลืมผลไม้สัญชาติไทยในสวนหลังบ้านอย่าง
มะเฟือง ทับทิม มะยม มะขามป้อม ไปเสียถนัดใจ ทั้งที่ผลไม้เหล่านี้มีสรรพคุณทางยาที่
เราสามารถนำมารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ มากมาย และหาได้ใกล้ตัว "

ผลไม้ไทย........ยาใกล้ตัว

1 มะเฟือง ( Starfruit )
นอกเหนือจากความสวยงามแปลกตาในเรื่องรูปทรงแล้ว ในด้านคุณค่าทางโภชนากา
มะเฟื่องสุก ยังอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และแคลเซี่ยม ช่วยรักษาอาการ
เลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบายแ้ก้ท้องผูก ช่วยขับเสมหะได้



ในด้านสมุนไพร เราสามารถใช้ส่วนต่างๆ ของมะเฟืองมารักษาโรคได้ดังต่อไปนี้

ผล คั้นเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ไข้หวัด บรรเทาอาการนิ่ว
ในทางเดินปัสสาวะ ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ


ช่วยลดอาการร้อนใน ช่วยขจัดรังแค นอกจากนั้นน้ำคั้นจากผลมะเฟื่องยังใช้ลบ
รอยเปื้อนบนมือ เสื้อผ้า และของใช้ต่างๆ ไ้ด้ดีอีกด้วย

ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำ กินแก้ไข้ ขับปัสสาวะ ขับระดู หรือหากนำมาบดให้ละเีอียด
พอกบนผิวหนัง จะช่วยลดอาการอักเสบ ช้ำบวบ แก้ผื่นคัน กลากเกลื้อน และอีสุกอีใส

ราก มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ต้มกับน้ำ่ช่วยดับพิษร้อน แำก้อาการปวดศรีษะ
ปวดตามข้อต่างๆ ในร่างกาย ปวดแสบในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องร่วง

ดอก นิยมนำมาต้มน้ำดื่มเพื่อช่วยในการขับพิษและขับพยาธิ

สูตรยารักษาผิวหนังจากมะเฟือง
การรักษา ส่วนที่ใช้ วิธีใช้
แก้กลากเกลื้อน ใบและดอกมะเฟื่อง ตำใบสด ยอดอ่อน หรือดอก
อีสุกอีใส ให้ละเอียด แล้วพอกแผล
และผื่นคัน

ข้อควรระวัง
ผลมะเฟื่องมีกรดออกชาติกอยู่ค่อนข้างสูง ดังนั้น จึงไม่ควรกินในปริมาณมากเกินไป
เพราะจะทำให้เป็นฝ้าได้ อีกทั้งไม่ควรกินในขณะมีประจำเดือน เพราะ จะทำให้รู้สึกปวดท้อง
สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินมาก เพราะจะทำให้แท้ได้





ส้มโอ ( Pomelo )
ในส้มโอมีสารเพกทิน ( Pectin ) สูง จึงมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
อีกทั้งยังมีสารโมโนเทอร์ปีนที่ช่วยในการกวดจับสารก่อมะเร็ง นอกจากนั้น ส้มโอยังมีคุณสมบัติพิเศษ
อีกประการหนึ่ง คือ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย

ใบ ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วย่างไฟให้อุ่น ใช้พอกบริเวณที่ปวดบวม หรือ


ปวดศรีษะได้
เปลือกผล เปลือกผลของส้มโอ มีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด ใช้เป็นยาขับลม
ขับเสมหะ แก้ท้องอืด แน่นหน้าอก ไอ สามารถใช้เปลือกผลตำพอกฝี และใช้จุดไฟไล่ยุงได้
หรือ หากนำเปลือกผลส้มโอมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำไปนึ่งรับประทานทุกเช้าเย็น ก็จะช่วยบรรเทา
อาการของโรคหืดได้
เมล็ด ของส้มโอมีสรรพคุณ ช่วยบำรุงกระเพาะอาหารลดอาการปวดบวมของ
ผิวหนัง และยังช่วยลดปริมาณของเสมหะที่มีในลำคอไ้ด้อีกด้วย
ผล ช่วยเจริญอาหาร หากรับประทานเนื้อส้มโอหลังอาหาร จะช่วยให้ระบบย่อย
อาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


สูตรยาจากส้มโอ
การรักษา ส่วนที่ใช้ วิธีใช้
รักษาฝี เปลือกผลแก่ของส้มโอ -ตำเปลือกผลแก่ให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่
เป็นฝี วันละ 2 - 3 ครั้ง หัวฝีจะหลุด

แก้อาการอาหารไม่ย่อย เปลือกผลแก่ของส้มโอ - นำเปลือกผลแก่ไปตากแดดให้แห้ง จากนั้น
ใช้ 10 กรัม ไปต้มรวมกับลูกเร่วแห้ง 10 กรัม
ใบกระเพาะอาหารไก่ 1 ใบ ผักคาวทองสด
15 กรัม ผงยีสต์แห้ง 1 ช้อนชา รับประทาน
หลังอาหาร จะช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
เนื่องจากอาหารไม่ย่อย