วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเทศอังกฤษ

ราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรอังกฤษนั้นได้ก่อตัวขึ้นเป็นรัฐแยกกันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 โดยแต่ละรัฐมีราชวงศ์และระบอบการปกครองของตัวเอง ส่วน ราชรัฐเวลส์ตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษจากบทกฎหมายรุดดลันในปีพ.ศ. 1827 และรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอังกฤษในปีพ.ศ. 2078 จากพระราชบัญญัติสหภาพพ.ศ. 2250 ขณะที่ประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์นั้นรวมกันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก จากการที่พระเจ้าเจมส์ที่หกแห่งสก๊อตแลนด์นั้นได้ปกครองอังกฤษ เนื่องจากพระนางอลิซาเบธที่หนึ่งไม่มีรัชทายาท ทั้งสองประเทศจึงอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์องค์เดียวกันแต่ต่างฝ่ายต่างมีรัฐบาลอิสระของตนเอง ต่อมาภายหลัง อังกฤษและสกอตแลนด์ก็ได้รวมตัวกันเป็นสหภาพทางการเมืองในชื่อราชอาณาจักรบริเตนใหญ่[1]

พระราชบัญญัติสหภาพ พ.ศ. 2343 ได้รวมราชอาณาจักรบริเตนใหญ่กับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้ค่อยๆตกเข้ามาอยู่ในการควบคุมของอังกฤษ เข้าเป็นสหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์[2] ซึ่งต่อมาในปีพ.ศ. 2465 26 แคว้นจาก 32 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์ตัดสินใจที่จะเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับสหราชอาณาจักร และตั้งเป็นประเทศใหม่เป็นสาธารณรัฐไอร์แลนด์ หลังจากนั้นอีก 7 ปี 6 แคว้นที่เหลือได้เข้ามารวมตัวกับสหราชอาณาจักรดังเดิม และตั้งชื่อแคว้นของตนเองเป็น ไอร์แลนด์เหนือ[3]

ในพุทธศตวรรษที่ 24 สหราชอาณาจักร (ในขณะนั้นคือสหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์) เป็นประเทศผู้นำของโลกในหลายๆด้าน เช่นการพัฒนาระบอบทุนนิยมและประชาธิปไตยแบบรัฐสภา รวมถึงการเผยแพร่ทางด้านวรรณกรรม ศิลปะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จักรวรรดิบริเตนสามารถครอบครองดินแดนถึงหนึ่งในสี่ของพื้นผิวโลกและหนึ่งในสามของประชากรโลกในช่วงที่มีการขยายตัวสูงสุด ทำให้กลายเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ทั้งในด้านดินแดนและประชากร

อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรเริ่มสูญเสียความเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมในพุทธศตวรรษที่ 25 ให้กับสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิเยอรมัน หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 1 อำนาจของสหราชอาณาจักรในวงการเมืองโลกเริ่มลดลง และเริ่มมีการปลดปล่อยอาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเลต่าง ๆ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหราชอาณาจักรต่อสู้กับเยอรมนีนาซีและได้รับชัยชนะในปีพ.ศ. 2488 ซึ่งทำให้สหราชอาณาจักรได้เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สหราชอาณาจักรเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปีพ.ศ. 2516 แต่ปัจจุบันยังไม่เข้าร่วมใช้เงินยูโร โดยมีแผนที่จะจัดการลงประชามติเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อผลจาก "บททดสอบห้าข้อ" ประเมินได้ว่าการเข้าร่วมใช้เงินยูโรจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร[4]


การเมืองการปรกครอง


สหราชอาณาจักรใช้ระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล คณะรัฐมนตรีนั้นเลือกจากรัฐสภาและมีหน้าที่รับผิดชอบต่อรัฐสภาเช่นเดียวกัน รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรเป็นระบบสภาคู่ แบ่งเป็น 2 สภา คือ เฮาส์ออฟลอร์ดส เป็นสภาสูงที่มาจากการแต่งตั้ง และเฮาส์ออฟคอมมอนส์ เป็นสภาล่างที่มาจากการเลือกตั้ง โดยหลักการแล้วผู้นำของรัฐสภาคือพระมหากษัตริย์ สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎหมายรัฐธรรมนูญแยกกันไป พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายเดวิด คาเมรอน ในส่วนของมกุฏราชกุมารที่จะครองราชย์สมบัติเป็นคนต่อไปจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ก่อน จึงจะมีความชอบธรรมในการเป็นมกุฏราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร เจ้าชายแห่งเวลส์ในปัจจุบันคือเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ซึ่งมิได้อาศัยอยู่ที่เวลส์แต่อย่างใด หากแต่อาศัยอยู่ที่สวน High Grove ใน Tetbury ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ


ภาษา


สหราชอาณาจักรไม่มีภาษาทางการ ภาษาที่พูดกันเป็นส่วนใหญ่คือภาษาอังกฤษ[10] ซึ่งเป็นภาษากลุ่มเจอร์มานิกตะวันตก พัฒนามาจากภาษาอังกฤษโบราณ ภาษาท้องถิ่นอื่นๆำได้แก่ภาษาสกอต และภาษากลุ่มแกลิกและบริทโทนิก (เป็นกลุ่มภาษาย่อยของกลุ่มภาษาเคลติก) เช่นภาษาเวลส์ ภาษาคอร์นิช ภาษาไอริช และภาษาสกอตติชแกลิก

ภาษาอังกฤษได้แพร่กระจายไปทั่วโลก จากอิทธิพลของจักรวรรดิบริเตนในอดีตและสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่สอนกันมากที่สุดในโลก[11] ภาษากลุ่มเคลติกของสหราชอาณาจักรก็มีพูดกันในกลุ่มเล็กๆหลายแห่งในโลก เช่น ภาษาแกลิกในประเทศแคนาดา และภาษาเวลส์ในประเทศอาร์เจนตินา

ในระยะหลังนี้ ผู้อพยพ โดยเฉพาะจากประเทศในเครือจักรภพ ได้นำภาษาอื่นหลายภาษาเข้ามาในสหราชอาณาจักร เช่น ภาษาคุชราต ภาษาฮินดี ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู ภาษาเบงกาลี ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาตุรกี และภาษาโปแลนด์ โดยสหราชอาณาจักรมีจำนวนผู้พูดภาษาฮินดี ปัญจาบ และเบงกาลีสูงที่สุดนอกทวีปเอเชีย


ศาสนา


คริสต์ศาสนาเข้าสู่เกาะบริเตนครั้งแรกโดยชาวโรมัน ปัจจุบัน สหราชอาณาจักรยังคงมีสถานะเป็นประเทศคริสต์อย่างเป็นทางการ พระประมุขจะต้องเป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนา และสถาปนาโดยอัครสังฆราชแห่งแคนเตอร์บรีในเวสต์มินสเตอร์แอบบี ร้อยละ 72 ของประชากรในสหราชอาณาจักรประกาศตัวเป็นคริสตศาสนิกชน[12] แต่ละชาติในสหราชอาณาจักรมีขนบธรรมเนียมทางศาสนาของตนเอง

พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 ส่งนักบุญออกัสตินแห่งแคนเตอร์บรีไปยังอังกฤษในปี พ.ศ. 1140 โดยออกัสตินดำรงตำแหน่งอัครสังฆราชแห่งแคนเตอร์บรีคนแรก ศาสนจักรของอังกฤษแยกตัวออกจากศาสนาจักรแห่งโรมในปี พ.ศ. 2077 ในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ปัจจุบันนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์เป็นศาสนจักรประจำชาติของอังกฤษ และเป็นแม่ข่ายของชุมชนแองกลิคันทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีสังฆราชของศาสนจักรเป็นสมาชิกของสภาขุนนางด้วย กษัตริย์ของสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องเป็นสมาชิกของศาสนาจักรแห่งอังกฤษ และเป็นผู้ดูแลสูงสุดด้วย ผู้นับถือคริสต์ศาสนนิกายโรมันคาทอลิกไม่มีสิทธิที่จะดำรงตำแหน่งกษัตริย์ได้

นิกายเชิร์ชออฟสกอตแลนด์ แยกตัวออกมาจากศาสนจักรโรมันคาทอลิกในปีพ.ศ. 2103 โดยปัจจุบันเป็นศาสนจักรนิกายเพรสไบทีเรียน และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐแม้ว่าจะมีสถานะเป็นศาสนาประจำชาติของสกอตแลนด์ กษัตริย์ของสหราชอาณาจักรมีสถานะเป็นสมาชิกทั่วไป และจำเป็นต้องสาบานที่จะ "ปกป้องความมั่นคง" ของศาสนจักรในพระราชพิธีราชาภิเษก

ในปีพ.ศ. 2463 ศาสนจักรในเวลส์แยกตัวออกมาจากศาสนจักรแห่งอังกฤษ และได้ออกจากสถานะความเป็นศาสนจักรจัดตั้งของรัฐ แต่ยังคงเป็นสมาชิกของชุมนุมแองกลิคันอยู่ ศาสนจักรแห่งไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นศาสนจักรแองกลิคัน ได้ยกเลิกความเป็นศาสนจักรจัดตั้งในปีพ.ศ. 2412 โดยศาสนจักรแห่งไอร์แลนด์ครอบคลุมเกาะไอร์แลนด์ทั้งหมด ทั้งในส่วนของแคว้นไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ในไอร์แลนด์เหนือ นิกายโรมันคาทอลิกเป็นนิกายศาสนาเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุด แต่น้อยกว่านิกายโปรเตสแตนต์ต่างๆเมื่อรวมกัน ศาสนจักรเพรสไบทีเรียนในไอร์แลนด์เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ที่ใหญ่ที่สุด และมีความเกี่ยวข้องกับศาสนจักรแห่งสกอตแลนด์ในทางประวัติศาสตร์และเทววิทยา




คริสต์ศาสนาเข้าสู่เกาะบริเตนครั้งแรกโดยชาวโรมัน ปัจจุบัน สหราชอาณาจักรยังคงมีสถานะเป็นประเทศคริสต์อย่างเป็นทางการ พระประมุขจะต้องเป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนา และสถาปนาโดยอัครสังฆราชแห่งแคนเตอร์บรีในเวสต์มินสเตอร์แอบบี ร้อยละ 72 ของประชากรในสหราชอาณาจักรประกาศตัวเป็นคริสตศาสนิกชน[12] แต่ละชาติในสหราชอาณาจักรมีขนบธรรมเนียมทางศาสนาของตนเอง

พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 ส่งนักบุญออกัสตินแห่งแคนเตอร์บรีไปยังอังกฤษในปี พ.ศ. 1140 โดยออกัสตินดำรงตำแหน่งอัครสังฆราชแห่งแคนเตอร์บรีคนแรก ศาสนจักรของอังกฤษแยกตัวออกจากศาสนาจักรแห่งโรมในปี พ.ศ. 2077 ในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ปัจจุบันนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์เป็นศาสนจักรประจำชาติของอังกฤษ และเป็นแม่ข่ายของชุมชนแองกลิคันทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีสังฆราชของศาสนจักรเป็นสมาชิกของสภาขุนนางด้วย กษัตริย์ของสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องเป็นสมาชิกของศาสนาจักรแห่งอังกฤษ และเป็นผู้ดูแลสูงสุดด้วย ผู้นับถือคริสต์ศาสนนิกายโรมันคาทอลิกไม่มีสิทธิที่จะดำรงตำแหน่งกษัตริย์ได้

นิกายเชิร์ชออฟสกอตแลนด์ แยกตัวออกมาจากศาสนจักรโรมันคาทอลิกในปีพ.ศ. 2103 โดยปัจจุบันเป็นศาสนจักรนิกายเพรสไบทีเรียน และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐแม้ว่าจะมีสถานะเป็นศาสนาประจำชาติของสกอตแลนด์ กษัตริย์ของสหราชอาณาจักรมีสถานะเป็นสมาชิกทั่วไป และจำเป็นต้องสาบานที่จะ "ปกป้องความมั่นคง" ของศาสนจักรในพระราชพิธีราชาภิเษก

ในปีพ.ศ. 2463 ศาสนจักรในเวลส์แยกตัวออกมาจากศาสนจักรแห่งอังกฤษ และได้ออกจากสถานะความเป็นศาสนจักรจัดตั้งของรัฐ แต่ยังคงเป็นสมาชิกของชุมนุมแองกลิคันอยู่ ศาสนจักรแห่งไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นศาสนจักรแองกลิคัน ได้ยกเลิกความเป็นศาสนจักรจัดตั้งในปีพ.ศ. 2412 โดยศาสนจักรแห่งไอร์แลนด์ครอบคลุมเกาะไอร์แลนด์ทั้งหมด ทั้งในส่วนของแคว้นไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ในไอร์แลนด์เหนือ นิกายโรมันคาทอลิกเป็นนิกายศาสนาเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุด แต่น้อยกว่านิกายโปรเตสแตนต์ต่างๆเมื่อรวมกัน ศาสนจักรเพรสไบทีเรียนในไอร์แลนด์เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ที่ใหญ่ที่สุด และมีความเกี่ยวข้องกับศาสนจักรแห่งสกอตแลนด์ในทางประวัติศาสตร์และเทววิทยา


ศาสนสถานฮินดูในกรุงลอนดอน เป็นศาสนสถานฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปศาสนจักรโรมันคาทอลิกเป็นนิกายคริสต์ศาสนาที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร หลังจากการปฏิรูปคริสต์ศาสนา มีการออกกฎหมายต่อต้านคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกอย่างเข้มงวด กฎหมายต่อต้านเหล่านี้ยกเลิกไปจากกฎหมายหลายฉบับซึ่งปลดปล่อยคาทอลิกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24

กลุ่มคริสต์ศาสนาอื่นๆในสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วย กลุ่มนิกายเมโทดิสต์ ก่อตั้งโดยจอห์น เวสลีย์ และกลุ่มแบบติสต์ นอกจากนี้ ยังมีโบสถ์เอวาเจลิคัลหรือเพนโทคอทัลมากขึ้นเรื่อย โดยส่วนมากมาจากการอพยพของประชากรจากประเทศในเครือจักรภพ สหราชอาณาจักรในปัจจุบันมีความหลากหลายทางด้านศาสนาค่อนข้างสูง คริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดูมีศาสนิกชนจำนวนมาก ในขณะที่ศาสนาซิกข์และศาสนายูดายมีศาสนิกชนจำนวนรองลงมา ร้อยละ 14.6 ของประชากรประกาศตัวว่าไม่นับถือศาสนาใดๆ

เชื่อกันว่ามีชาวมุสลิมถึง 1.8 ล้านคนในสหราชอาณาจักร ซึ่งจำนวนมากอาศัยอยู่ในลอนดอน เบอร์มิงแฮม แบรดฟอร์ด และโอลด์แฮม[13] โดยในปัจจุบันสามารถเห็นมัสยิดได้ทั่วไปในหลายภาคของสหราชอาณาจักร ชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่มีเชื้อสายปากีสถาน อินเดีย และบังคลาเทศ ในระยะหลัง ผู้อพยพจากโซมาเลียและตะวันออกกลางได้เพิ่มจำนวนชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักร ในปีพ.ศ. 2549 การให้สัมภาษณ์ของแจ็ก สตรอว์ ผู้นำเฮาส์ออฟคอมมอนส์ ได้ก่อเกิดความขัดแย้งในเรื่องของผ้าคลุมศีรษะของชาวมุสลิม โดยสะท้อนให้เห็นฝ่ายชาวสหราชอาณาจักรที่เห็นว่าศาสนาอิสลามไม่สามารถเข้ากับสังคมสหราชอาณาจักรได้ และอีกกลุ่มที่พอใจกับศาสนาอิสลามในสหราชอาณาจักร[14] ศาสนาที่มีต้นกำเนิดจากอินเดีย เช่น ศาสนาฮินดู และ ศาสนาซิกข์ ก็มีขยายใหญ่ขึ้นในสหราชอาณาจักรเช่นกัน โดยมีชาวฮินดูมากกว่า 500,000 คน และชาวซิกข์ถึง 320,000 คน[15] โดยปัจจุบันน่าจะเพิ่มขึ้นจากตัวเลขนี้ ซึ่งมาจากการสำรวจในปีพ.ศ. 2544 ในเมืองเลสเตอร์มีศาสนสถานของศาสนาเชน ซึ่งเป็นแห่งเดียวในโลกที่อยู่นอกประเทศอินเดีย


สถานที่ที่สำคัญของประเทศอังกฤษ

Buckingham Palace
เป็นพระราชวังที่สำคัญของอังกฤษที่สามารถเปิดให้คนเข้าชมได้ ซึ่งภายในพระราชวังจะมีห้องต่างๆ ที่น่าสนใจที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี อาทิ ห้องบังลังก์ของกษัตริย์ ห้องแกลลอรี่ ห้องเสวยพระกระยาหาร ซึ่งห้องต่างๆ เหล่านี้ ได้รับการตกแต่งอย่างงดงามและอลังการ นอกจากนี้ ภายในพระราชวังยังมีสวนที่ได้รับการตกแต่งอย่างดี เหมาะแก่การเดินชมวิวเป็นอย่างยิ่ง ที่สำคัญ คือ การผลัดเปลี่ยนเวร(Changing the Guard) การผลัดเปลี่ยนเวรจะมีขึ้นที่บริเวณ

พระราชวังบักกิ้งแฮม โดยจะเริ่มแสดงเวลา 11.30 น . และจะใช้เวลาแสดงทั้งหมด 40 นาที แต่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ ในวันที่มีเหตุการณ์สำคัญของเมือง การผลัดเปลี่ยนเวรอาจจะงดได้ในวันที่ฝนตก

* สถานีรถไฟใต้ดินที่ใกล้ : Green Park , Victoria Station and St. James Park , Hyde park Coner Tube Station


Bigben
บิ๊กเบน ตึกสภา เวสต์มินสเตอร์ ทั้งหมดคือ สัญลักษณ์ของลอนดอนที่ไม่เคยเสื่อมความสำคัญ ตัวบิ๊กเบนและอาคารรัฐสภาตั้งอยู่ริมแม่น้ำเทมส์ ขณะนี้กำลังขัดสีฉวีวรรณเป็นการใหญ่จึงเห็นเป็นสีทองอร่าม ไม่ดำหม่นมัวด้วยคราบเขม่าควันและการเวลาเหมือนในอดีต มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์กำลังซ่อมแซมเช่นกัน เหมือนกับสะพานข้ามแม่น้ำเทมส์ในบริเวณใกล้เคียงที่ทำให้การเดินข้ามถนนไปมาของนักท่องเที่ยวออกจะ ลำบากไม่ใช่น้อยเลย


London Eye
บริติช แอร์เวยส์ ลอนดอน อาย (British Airways London Eye) กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอังกฤษไปซะแล้ว สำหรับบริติช แอร์เวยส์ ลอนดอน อาย ที่สร้างขึ้นเพื่อรับปี สหัสวรรษ 2000 โดยสายการบินบริติช บริติช แอร์เวยส์ ลอนดอน อาย เป็นจุดชมวิว ที่มีลักษณะเป็นกงล้อหมุน มีความสูง 135 เมตร จุดชมวิวนี้ สร้างขึ้นภายใต้แนวความคิด อากาศ น้ำ พื้นโลก และเวลา

* ทั้งสองที่ใกล้ สถานีรถไฟใต้ดิน : Embankment Station Tube station


สะพานทาวเวอร์ (Tower Bridge)
สร้างขึ้นเหนือแม่น้ำเทมส์ โดยสะพานแห่งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นจุดชมวิว ที่มีความสูงถึง 140 ฟุต เท่านั้น แต่ภายในของฐานสะพาน ที่ถูกสร้างขึ้นให้มีลักษณะเป็นหอสูง ยังเป็นที่ที่จัดนิทรรศการ เกี่ยวกับประเทศอังกฤษ จนถึงมีจัดแสดงห้องอบไอน้ำสมัยวิกตอเรียนด้วย

* สถานีใต้ดินที่ใกล้ที่สุด : Tower Hill tube station


London Chaina Town ( SOHO )
เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ คนไทยในลอนดอนชอบไปเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่า อาหารจีนเป็นอาหารที่คนไทยชื่นชอบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาอย่างยิ่งมากกว่า อาหารฝรั่ง เบอร์เกอร์ แซนวิชเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้ง ยังมี ซุปเปอร์มาเก็ตของคนจีน ที่นำเข้า ของชำ ทั้ง ผัก ผลไม้ ม่าม่า และ ซอสปรุงอาหาร แม้กระทั่ง ปลาร้า ก็มี ที่นำเข้ามาจากเมืองไทยทุกวันสดมาก เป็นที่ ๆ นักเรียนไทยในลอนดอนรู้จักกันดี

ดูที่ร้านแดงด้านขวามือสุดสิ นั่นแหละ ซุปเปอร์มาร์คเก็ตจีน ชื่อ LOON MOON ที่มีของชำจากเมืองไทยเพียบ อยู่ใจกลาง โซโฮ เลยละ

* สถานีรถไฟใต้ดินที่ใกล้ : Piccadilly Circus , Leicester Square Tube Station


Harrods
ห้างแฮร็อดส์ (Harrods) อภิมหาเศรษฐีชาวอียิปต์ชื่อ อัลฟาเยด เป็นเจ้าของกิจการตั้งอยู่บนบรอมตันแถวๆย่าน " ไนท์บริดจ์ "(Knightsbridge) ที่ห้างแฮร็อดส์มีของขายมากมายกว่า 300 แผนก อยากจะได้อะไรข้างในมีหมด เพียงแต่ว่าจะตัดสินใจซื้อกันหรือเปล่าเทานั้น เพราะราคาข้าวของแต่ล่ะอย่างแพงหูฉี่ ในห้างมีร้านโดนัทชื่อดังอันดับ 1 ใน 10 ของโลกคือ Krispy Kream อร่อยมากขอรับประกันคุณภาพหากหาซื้ออะไรไม่ได้ ซื้อถุงก๊อปแก๊ปของห้างมาเป็นที่ระลึกก็ยังดี

* สถานีรถไฟใต้ดินที่ใกล้ : Knightsbridge Tube Staiton


Oxford Street
แหล่งชอปปิ้ง อีกแห่งที่ไม่น่าที่จะพลาดคือ อ๊อกฟอร์ดสตรีท มีความยาวถึง 1 ไมล์ (1.6 กม .) ทั้งสองฟากฝั่งถนนอุดมไปด้วยร้านค้านานาชนิด ที่เห็นใหญ่โตมโหฬารที่สุดในย่านนี้ก็คงจะเป็นห้างที่มีชื่อว่าเซลฟริดเสจ (Selfridges) ซึ่งมีของขายตั่งแต่เครื่องใช้ในบ้าน ฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าเครื่องสำอาง เครื่องแก้ว ล้วนแล้วแต่เป็นสินค้าแบรนเนม ซึ่งเป็นอีกแหล่งชอปปิ้ง ที่ทุก ๆ คนประทับใจมาก

* สถานีรถไฟใต้ดินที่ใกล้ : Bond Street Station, Oxford

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น