วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อาหารไทยอันลือชื่อ


อาหารไทย

อาหารไทย เป็นอาหารประจำของชนชาติไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย ขณะที่อาหารพื้นบ้าน หมายถึง อาหารที่นิยมรับประทานกันเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นได้ง่าย โดยอาศัยพืชผักหรือเครื่องประกอบ อาหาร ที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการสืบทอดวิธีปรุงและการรับประทานต่อๆ กันมา

อาหารไทยภาคอีสาน

หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิต ที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้า ไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา แจ่วบอง
ลักษณะการปรุงอาหารพื้นเมืองอีสานลาบ เป็นอาหารประเภทยำที่มีเนื้อมาสับละเอียดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆบางๆปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า พริก ข้าวคั่ว ต้นหอม ผักชี รับประทานกับผักพื้นเมือง นิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่ก้อย เป็นอาหารประเภทยำที่จะนำเนื้อย่างมาหั่นเป็นชิ้นๆผสมกับผักพื้นเมืองนิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่ ทานกับผักสดนานาชนิด ส่า เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำหนังหมู เนื้อหมูย่างสับมาผสมกับหัวปลี วุ้นเส้น แซ หรือ แซ่ เป็นอาหารประเภทยำที่นำเนื้อสดๆมาปรุงนิยมใช้กับเนื้อวัวและหมู คล้ายๆลาบแต่มักใส่เลือดสดๆด้วย กินกับผักสดตามชอบ คนโบราณนิยมกินเพราะเชื่อว่าเป็นยาชูกำลัง ปัจจุบันได้รับความนิยมเฉพาะในชนบทที่ห่างไกลอ่อม เป็นอาหารประเภทแกงแต่มีน้ำน้อยมีผัก พื้นเมืองหลายชนิดนิยมใช้กับเนื้อ ไก่และปลาหรือเนื้อกบเนื้อเขียดหรือเนื้อสัตว์อื่นๆแต่เน้นที่ปริมาณผักอ๋อ ลักษณะคล้ายอ่อมแต่ไม่ใส่ผัก(ใส่เพียงต้นหอม ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบแมงลัก) นิยมใช้ปลาตัวเล็ก กุ้ง หรือไข่มดแดงปรุง ใส่น้ำพอให้อาหารสุกหมก เป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยม ใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง กบ เขียด ผักและหน่อไม้ หมกหรือห่อหมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิอู๋ คล้ายหมกแต่ไม่ใช้ใบตอง นิยมใช้กับเนื้อปลาโดยเฉพาะปลาตัวเล็กๆ กับพวกลูกอ๊อดกบหม่ำ คือ ไส้กรอกเนื้อวัวผสมตับ ตะไคร้และเครื่องเทศอื่นๆหม่ำขึ้ปลา มีลักษณะคล้ายปลาร้าชนิดหนึ่งรสชาติค่อนข้างเปรี้ยว หมักกับข้าวเหนียวแจ่ว คือ น้ำพริกของชาวอีสานนิยมใส่ปลาร้าสับหรือน้ำปลาร้า บางครั้งใส่มะกอกพื้นบ้านก็เป็นแจ่วมะกอก รับประทานกับผักสด ลวก หรือนึ่ง เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทุกบ้านในภาคอีสาน เพราะมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก ตำซั่ว เป็นอาหารประเภทส้มตำชนิดหนึ่ง แต่ใส่ส่วนประกอบมากกว่า คือ ใส่ขนมจีน ผักดอง ผัก(เหมือนที่ใส่ขนมจีน) และมะเขือลาย หรือผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย


กินของไทย

ภาคกลางเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่นๆ ดังนั้นคนภาคกลางจึงชื่นชมและภูมิใจในความเป็นคนภาคกลางอย่างยิ่ง เหตุเพราะว่าความเป็นคนภาคกลางได้เปรียบกว่าภาคอื่นๆ ตรงที่รับเอารสชาตอาหารของทุกภาคมาเป็นส่วนผสมของอาหารพื้นเมือง ภาคกลาง ได้หมดไม่ว่าจะเป็น รสชาติเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ดอาหารหลักที่บริโภคเป็นประจำคือข้าวเจ้า

อาหารพื้นเมืองของคนภาคกลาง

คนภาคกลางชอบบริโภคน้ำพริกเป็นประจำบนโต๊ะอาหาร การบริโภคน้ำพริกของคนภาคกลางมีหลายรูปแบบ ซึ่งน้ำพริกจะต้องรับประทานกับผักพื้นบ้าน จนรวมเรียกว่าน้ำพริกผักจิ้มเป็นของที่แยกกันไม่ออกโดยปริยาย





น้ำพริกปลาทู

น้ำพริกปลาทู เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของภาคกลางและเป็นที่นิยมรับประทานกัน ทุกครัวเรือนไทยเพราะมีรสชาติที่ แสนอร่อยและสามารถหารับประทานได้แทบทุกจังหวัด

ปูผัดผงกะหรี่ อาหารนี้มีรสเค็ม หวานกะทิรสชาติปานกลางไว้ทานกับข้าวสวยร้อนๆ หรืออาจเป็นดัดแปลงราดขนมจีนหรือก๋วยเตี๋ยวก็ได้

ปลาช่อนเผาแม่ลา เป็นปลาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสิงห์บุรีมีรสชาติอร่อยกว่าปลาชนิดอื่นๆ นำมาเผาจิ้มกิน กับน้ำจิ้มที่มีรสเปรี้ยว หวานนิดจะอร่อยมาก


ภาคเหนือ ชาวเหนือส่วนใหญ่เป็นคนที่มีความอ่อนหวาน ยิ้มง่าย อะไรก็ เจ้า.. เจ้าไว้ก่อน อาหารภาคเหนือจึงมีรสชาติที่อ่อนหวาน ตามบุคลิกของคนเหนือไปด้วย หรือหากมีรสเผ็ดก็เผ็ดไม่มาก แต่จะมีรสเค็ม รสเปรี้ยวปานกลาง ส่วนรสหวานไม่มากเท่าไร อีกทั้งภาคเหนือมีอาณาเขต ติดประเทศลาวและพม่า วัฒนธรรมจึง ยักย้ายถ่ายเทกันอยู่ไปมา โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ที่เห็นอย่างแรกคือข้าวเหนียว หรือที่คนเหนือเรียกว่า ข้าวนึ่ง

อาหารพื้นเมืองของภาคเหนือ

อาหารภาดเหนือมีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด แต่ล่ะชนิดก็มีการปรุงอยู่ด้วยกัน หลายวิธี เช่น การแกง การจอ การส้า การยำ การเจี๋ยว การปี๊บ การคั่วหรือผัด ซึ่งการปรุงอาหารเหล่าน มักมีผักพื้นบ้านเป็นส่วนประกอบ ที่สำคัญอยู่ด้วย เช่น ผักกวางตุ้งมีดอก ใบและ ยอดตำลึง มะเขือขื่น มะเขือสีดา มะเขือยาว เป็นต้น


อาหารพื้นเมือง

ลักษณะเด่นของอาหารเหนืออีกอย่างที่แปลกแตกต่างจากท้องถิ่นไทย ก็คือ กับข้าว และ เครื่องจิ้มต่างๆ มักจะแห้งและมีเนื้อเหนียวแน่น กว่ากับข้าวของคนภาคกลาง ทั้งนี้เป็นเพราะ ต้องเป็นกับที่เหนียวแน่น ที่จะใช้ข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อน จึ้มติดขึ้นมาได้ มีได้ใช้คลุกกับข้าวสวย อย่างคนภาคกลาง มาตราฐานของกับข้าวไทย ทุกสำรับทุกภาค คือ น้ำพริก

น้ำพริกหนุ่ม การที่เรียกอย่างนั้นเป็นเพราะใช้พริกอ่อน หรือคนภาคเหนือเรียกว่า ยังหนุ่มเป็นหลัก นำมาจิ้มกับข้าวเหนียวร้อนๆ หรือ แคบหมูจะอร่อยที่สุด จะมีรสชาติเค็มและ เผ็ดเป็นหลักน้ำพริกหนุ่มเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของภาคเหนือสามารถหารับประทานได้แทบทุกจังหวัดของภาคเหนือ

แกงโฮะ แกงนี้โดยหลักเป็นแกงที่โละของเหลือมาจากในครัว นำแกงที่เหลือมาผัดและเคี่ยวรวมกัน แต่ถ้าจะให้ได้รสชาติอร่อยต้องใช้แกงที่บูดนิดๆ จะทำให้ได้รสเปรี้ยว จากความบูดเป็นการชูรสกลิ่นไปด้วย ไม่ต้องตกใจกลัวท้องเสีย เพราะความร้อนจะทำให้ความบูดนั้นสุก

ข้าวซอย เป็นอาหารจานเดียวที่รู้จักกันดีโดยดั้งเดิมข้าวซอยเป็นอาหารของจีนยูนาน น้ำแกงที่ใช้ราดเส้นบะหมี่ของข้าวซอย เป็นแกงกะทิใสๆ จะใส่เนื้อหรือไก่ก็อร่อยทั้งนั้น เวลารับประทานมักแกล้มด้วยหอมเล็กจะเพิ่มรสชาติอาหารยิ่งขึ้นโดยปกติข้าวซอยจะมีรสชาติเค็มนำ หวานกะทิ เปรี้ยวน้ำมะนาว

ภาคใต้


อุปนิสัยคนเมืองใต้ต่างจากภาคอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัดไม่ว่าจะเป็นการพูดจาของคนเมืองใต้ที่จะดูห้วนๆไม่เนิบนาบเหมือนคนภาคเหนือการบริโภคอาหารของคนภาคใต้ก็เช่นเดียวกัน ที่เเน้นรสเผ็ด รสเค็มและรสเปรี้ยวเป็นหลัก มักจะรับประทานกับผักต่างๆมากมาย

การที่อาหารภาคใต้มีรสร้อน รสเผ็ด และกลิ่นฉุนของแครื่องเทศก็เป็นเพราะวัฒนธรรมการบริโภคอาหารพื้นเมืองของชาวใต้นี้มีความเหมาะกับสภาพภูมิอากาศและสุขภาพอย่างมากมายเนื่อง

เนื่องจากภาคใต้มีภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้ง่ายแก่การเจ็บป่วย ดังนั้นอาหารพื้นเมืองที่รับประทานส่วนมาก จะมีรสเผ็ดช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและช่วยป้องกันการเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี

อาหารพื้นเมืองภาคใต้

ผู้ที่มาเยือนปักษ์ใต้ มักที่จะไปลิ้มลอง ลิ้มรสอาหารพื้นเมือง ที่ขึ้นชื่อของเมืองใต้กันเกือบทุกคนเพราะถ้ามาถึงเมืองใต้แล้วไม่รับประทานอาหารพื้นเมือง ก็เท่ากับว่ายังมาไม่ถึงภาคใต้ ภาคใต้เป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์กว่าภาคใด ๆ สังเกตจากความเขียวขจี ความชุ่มฉ่ำอุดมสมบูรณ์ของพื้นดิน ทำให้ภาคใต้มีพืชผักพื้นบ้าน นานาชนิด เช่น สะตอ ยอดกระถิน ใบชะพลู ยอดมะม่วงหิมพานต์ ลูกเนียง หน่อเรียงดอง

แกงพุงปลา หรือแกงไตปลา เป็นอาหารคาวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวใต้ นิยมรับประทานกันทั่วไป เป็นแกงเผ็ดมีน้ำมากกว่าเนื้อ รสค่อนไปทางเค็ม ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ปลาย่าง หน่อไม้ และที่สำคัญคือ ไตปลา

ขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ จะต่างจากภาคกลางตรงน้ำยา ซึ่งไม่นิยมใช้ปลาดุก แต่จะใช้ปลาทะเลที่มีเนื้อมาก และใช้ส้มแขกใส่ลงในน้ำยา ทำให้มีรสเปรี้ยว ผักพื้นบ้านที่นิยมกินกับขนมจีนได้แก่ ยอดมะม่วงหิมพานต์ สะตอ ลูกเนียง ผักกาดดอง ถั่วงอกดอง จังหวัดภูเก็ต ระนอง นิยมรับประทานเป็นอาหารมื้อเช้า

ข้าวยำ เป็นอาหารหลักของชาวใต้อีกชนิดหนึ่ง มีให้เลือกทั้งแบบราดน้ำบูดู และแบบที่ไม่ได้ราดน้ำบูดู แต่คลุกเคล้าด้วยเครื่องแกงรสเข้มข้น ประกอบด้วย ข้าวสวย ข้าวตังทอด มะพร้าวคั่ว กุ้งทอด ส้มโอ พริกป่น วิธีรับประทาน นำผักทั้งหมดมาจัดรวมกัน แล้วคลุกด้วยน้ำยำ ซึ่งทำด้วยน้ำบูดูที่เคี่ยวแล้ว

เต้าคั่ว เป็นอาหารจานเดียวของภาคใต้ มีเฉพาะจังหวัดสงขลา ส่วนผสมก็มี เส้นหมี่ลวกสุก หมูสามชั้น หูหมู เต้าหู้ทอด ไข่ต้ม ถั่วงอก ผักบุ้งลวก แตงกวา นำเครื่องปรุงทุกอย่างใส่จาน นำเครื่องปรุงรสที่เตรียมไว้ ซึ่งมีรสเปรี้ยว หวาน เค็ม

แกงเผ็ดเหม็งมะพร้าว ลักษณะคล้ายกับแกงเผ็ดของภาคกลาง แต่สีจะเข้มกว่า เพราะสีของขมิ้นที่ผสมในเครื่องแกง ทำให้แกงมีสีน่ารับประทาน

อาหารหวานของภาคใต้ที่มีชื่อเสียง และนิยมรับประทาน

ขนมเทียน ต่างจากขนมเทียนของภาคกลางตรงที่ไม่มีไส้ แต่จะมีสีขาวนวล ตามสีของน้ำตาลปี๊บ เหมาะสำหรับเป็นของว่าง ขนมนี้เป็นของจังหวัดนราธิวาส

ขนมมด ขนมนี้จะมีรสชาติหวานปานกลาง แป้งข้างนอกจะกรอบเล็กน้อย ส่วนข้างในจะนิ่มข้าวเหนียว หารับประทานได้ที่จังหวัดสงขลา

ขนมห่อหัวล้าน การที่ชื่อขนมเป็นแบบนี้ มาจากการราดกะทิแล้วทำให้ดูเหมือนหัวล้าน ใช้แป้งสองสี คือสีขาว กับสีดำ นิยมรับประทานเป็นของว่าง ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี

ขนมปาดา ลักษณะของขนมจะมีรูกลม มีไส้ข้างใน เป็นไส้คาว รสชาติขนมจะเค็ม เผ็ดพริกขี้หนูสด และหวานเล็กน้อย สามารถหารับประทานได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

ข้าวเหนียวลาวะ ลักษณะคล้ายน้ำกะทิทุเรียน แต่ใช้ไข่แทน จะมีรสชาติหวานมัน

ข้าวเหนียวปิ้งไส้กุ้ง เป็นขนมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพังงา มีรสชาติเค็ม มัน หวานกลมกล่อม ยิ่งเวลารับประทาน จะได้กลิ่นหอมจากใบตองไหม้ด้วย

แหล่งทีมา http://multiply.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น